สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ปัญหาท้องถิ่นคือ สภาวการณ์ที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ในท้องถิ่น เช่น

1. ปัญหาด้านเศรษฐกิจ

2. ปัญหาด้านสังคม

3. ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

  มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

จุดประสงค์การเรียนรู้

1  ด้านความรู้  

   -  นักเรียนสามารถอธิบายแนวทางการแก้ไขและพัฒนาท้องถิ่นตามปรัชญาของเศรษฐกิจ

      พอเพียงได้

2  ด้านทักษะกระบวนการ

-  นักเรียนสามารถประยุกต์ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาท้องถิ่นได้

3  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. มุ่งมั่นในการทำงานเป็นกลุ่ม / ทีม

4. รักความเป็นไทย

  1. ด้านคุณลักษณะเฉพาะ

-  นักเรียนเห็นความสำคัญของหลักเศรษฐกิจพอเพียงในการนำมาแก้ไขปัญหาในท้องถิ่นโดยสังเกตจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนและการทำใบงาน

การวัดผลและประเมินผล

  วิธีการวัด

  1. ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

  เครื่องมือวัด

1  ใบงานที่ 49  เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับท้องถิ่นของฉัน

2  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง ท้องถิ่นพอเพียง
เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับท้องถิ่นของฉัน วันที่ 1 มี.ค. 67 (มีใบงาน)