สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภาวะเงินฝืด (Deflation) คือ ภาวะที่ราคาทั่วไปของสินค้าและบริการลดลง เป็นภาวะที่อัตราเงินเฟ้อติดลบ หรือ อธิบายอย่างง่าย ๆ ว่าเป็นภาวะที่ตรงกันข้ามกับภาวะเงินเฟ้อ นั่นเอง โดยเมื่อเกิดขึ้นแล้วมูลค่าของสกุลเงินจะเพิ่มขึ้น ทำให้มีกําลังซื้อเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งประชาชนสามารถซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้นด้วยเงินจํานวนเท่าเดิม ส่วนราคาของสินค้าและบริการที่ลดลงนั้นอาจจะไม่ได้หมายถึงทุก ๆ สินค้า และการบริการ แต่หมายถึงค่าเฉลี่ยโดยรวมที่ลดลง โดยอาจยังมีบางส่วนที่ราคาสูง และบางส่วนราคาต่ำลง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ม.๓/๔ อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด     

จุดประสงค์การเรียนรู้

1  ด้านความรู้  

   -  นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของภาวะเงินฝืดได้

2  ด้านทักษะกระบวนการ

 -  นักเรียนสามารถอภิปรายผลกระทบและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภาวะเงินฝืดได้

3  ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

       -  ใฝ่เรียนรู้

       -  มุ่งมั่นในการทำงาน

  1.  คุณลักษณะเฉพาะ

 -  นักเรียนสามารถนำความรู้เรื่องภาวะเงินฝืดไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ผ่านการทำกิจกรรม “เมื่อฉันเจอภาวะเงินฝืด”

การวัดผลและประเมินผล

8.1  วิธีการวัด

  1. ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

 เครื่องมือวัด

          1  ใบงานที่ 46  เรื่อง ภาวะเงินฝืด

          2  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6
ชั่วโมง บทบาทรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจ
เรื่อง ภาวะเงินฝืด วันที่ 21 ก.พ. 67 (มีใบงาน)