สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ระบบที่มีสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ อาศัยในแหล่งที่อยู่เดียวกันที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต เรียกว่า ระบบนิเวศ ในระบบนิเวศเดียวกัน สิ่งมีชีวิตที่เป็นองค์ประกอบในระบบนิเวศนั้นจะมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น การกินกันเป็นอาหาร และยังมีปฏิสัมพันธ์กับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตด้วย เช่น พืชต้องการแสง น้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายความหมายของระบบนิเวศ

2. ยกตัวอย่างปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

3. อธิบายปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในระบบนิเวศที่สำรวจ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรม และการตอบคำถามเกี่ยวกับความหมายของระบบนิเวศและปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต

2. การบันทึกผลการทำกิจกรรม การตอบคำถามท้ายกิจกรรม และการอภิปรายเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีวิตกับองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ
 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร

3. ใบความรู้ที่ 2 ระบบนิเวศ

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ (4) วันที่ 23 ก.พ. 67 (มีใบงาน ใบความรู้ )