สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

          ภูมิปัญญาได้รับการสั่งสมอยู่ในวัฒนธรรมไทย การศึกษาเรื่องภูมิปัญญาสมัยธนบุรีถือว่าสะท้อนวัฒนธรรม ของคนไทยสมัยธนบุรีด้วย แสดงให้เห็นทั้งพัฒนาการด้านสติปัญญา ความรู้ ความคิดของคนสมัยนั้น รวมทั้งการปรับตัว ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส. 4.3 ม.2/1 วิเคราะห์พัฒนาการของอาณาจักรอยุธยาและธนบุรีในด้านต่างๆ

ส. 4.3 ม.2/2 วิเคราะห์ปัจจัย ที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอยุธยา

ส. 4.3 ม.2/3 ระบุภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยอยุธยาและธนบุรี และอิทธิพลของภูมิปัญญาดังกล่าวต่อ การพัฒนาชาติไทยในยุคต่อมา

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายความหมายของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีได้

2. ยกตัวอย่างของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมที่พบในสมัยธนบุรีได้

ด้านทักษะและกระบวนการ

1. วิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยของการได้มาซึ่งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีได้

2. อภิปรายเกี่ยวกับคุณค่าและความสำคัญของภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในสมัยธนบุรีได้

ด้านคุณลักษณะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

2. ใฝ่เรียนรู้

คุณลักษณะเฉพาะ

เห็นคุณค่าและกระตือรือร้นต่อการปฏิบัติกิจกรรมอภิปรายร่วมกัน

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถาม

2. การอภิปราย

เครื่องมือ

1. คำถาม

2.แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 20

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เจาะเวลาธนบุรี
ชั่วโมง เจาะเวลาธนบุรี
เรื่อง ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยธนบุรี 14 มี.ค. 67 (มีใบกิจกรรม และใบความรู้)