สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำกริยา คือ คำที่แสดงอาการ สภาพ หรือการกระทำของคำนามและคำสรรพนามในประโยคคำกริยาบางคำอาจมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง บางคำต้องมีคำอื่นมาประกอบและบางคำต้องไปประกอบคำอื่นเพื่อขยายความ คำกริยาที่ควรรู้จักแบ่งออกเป็น สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องการกรรม และ อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ไม่ต้องการกรรม 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/3

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายลักษณะของคำกริยาที่ต้องการกรรมและคำกริยาที่ไม่ต้องการกรรมได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

1) จำแนกคำกริยาในประโยคได้

2) แต่งประโยคโดยใช้คำกริยาได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นความสำคัญการใช้คำสรรพนามประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 6 เรื่อง วิเคราะห์คำกริยา

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 20 ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
เรื่อง คำกริยา 15 มี.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)