สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 คำสรรพนาม เป็นคำที่ใช้แทนคำนามที่กล่าวถึงมาแล้ว เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำนามนั้นซ้ำอีก เช่น คำว่าฉัน เรา ดิฉัน กระผม คุณ ท่าน ใต้เท้า เขา มัน สิ่งใด ผู้ใด นี่ นั่น ใคร

 บุรุษสรรพนามเป็นคำสรรพนามที่ใช้แทนผู้พูด ผู้ฟัง และผู้ที่กล่าวถึง (บุคคลที่ 3) แบ่งเป็นชนิดย่อยได้ 3 ชนิด คือ สรรพนามบุรุษที่ 1 สรรพนามบุรุษที่ 2 และสรรพนามบุรุษที่ 3

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ตัวชี้วัด ป.3/3

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- อธิบายความหมาย ลักษณะ ประเภทและหน้าที่ของคำสรรพนามได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- จำแนกบุรุษสรรพนามได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- เห็นความสำคัญการใช้คำสรรพนามประเภทต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 5 เรื่อง นักสำรวจคำสรรพนาม

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 20 ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
ชั่วโมง ชื่อหน่วย ภาษาไทยยั่งยืน
เรื่อง คำสรรพนาม 14 มี.ค. 67 (มีใบงาน และใบความรู้)