สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

   การเขียนเรื่องตามจินตนาการ เป็นการเขียนเรื่องตามความรู้สึก นึกคิดของผู้เขียน เป็นการเขียนอิสระ การดำเนินเรื่องต้องมีตัวละคร สถานที่หรือเหตุการณ์เรื่องราว ที่จัดลำดับความคิด ลำดับเหตุการณ์ให้ต่อเนื่อง  ใช้ภาษาและเรียบเรียงประโยค แล้วถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร เรื่องตามจินตนาการ เช่น นิทาน

  การเขียนเรื่องจากคำหรือจากภาพเป็นพื้นฐานในการเขียนเรื่องตามจินตนาการ ให้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ หรือสนุกสนานเพลิดเพลิน และเรียบเรียงเรื่องราวต่าง ๆ ให้มีความเกี่ยวเนื่อง สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 2.1 ตัวชี้วัด ป.3/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

- บอกความหมายของการเขียนเรื่องตามจินตนาการได้

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

- เขียนเรื่องตามจินตนาการจากคำได้

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

- มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

 ประเมินผลการทำใบงานที่ 4 เรื่องการเขียนเรื่องตามจินตนาการจากคำ

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 12 ชื่อหน่วย พิสูจน์วิชาหนาเจ้า
ชั่วโมง ชื่อหน่วย พิสูจน์วิชาหนาเจ้า
เรื่อง การเขียนเรื่องตามจินตนาการจากคำ 21 พ.ย. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)