สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การถอดความ เป็นการถอดภาษาของบทร้อยกรองต่าง ๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ของกวีออกมาเป็นภาษาร้อยแก้ว ซึ่งต้องอาศัยความสามารถในการเข้าใจคำ รู้ความหมายของคำ การเรียบเรียงถ้อยคำ จึงจะทำให้เข้าใจความหมายของบทร้อยกรอง และเกิดความซาบซึ้งประทับใจ     

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ท 1.1    ป.5/3 อธิบายความหมายโดยนัยจากเรื่องที่อ่านอย่างหลากหลาย

จุดประสงค์                                                                                                    

1. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)                                                                                                   

- บอกหลักการถอดความจากบทร้อยกรองได้                                                                  

2. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)                                                                                                          

- เขียนถอดความจากบทร้อยกรองเรื่องโคลงโลกนิติได้                                                  

3. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)                                                                                               

- นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเรียนวิชาภาษาไทย

การวัดผลและประเมินผล

1 ตรวจใบงานที่ 3 เรื่อง การถอดความจากโคลงโลกนิติ

2 ประเมินการถอดความจากโคลงโลกนิติ

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 10 โคลงโลกนิติข้อคิดสอนใจ
ชั่วโมง ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
เรื่อง การถอดความจากโคลงโลกนิติ 12 ธ.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)