สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

    อักษรควบกล้ำ บางทีเรียกว่า คำควบกล้ำ ได้แก่ คำหรือกลุ่มคำที่มีพยัญชนะต้นสองตัวเรียงกัน ประสมสระเดียวกัน ออกเสียงพยัญชนะพร้อมกันทั้ง 2 ตัวหรือกล้ำกัน และออกเสียงร่วมเสียงสระและวรรณยุกต์

    อักษรควบกล้ำในภาษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ 1) อักษรตัวหน้าเป็น ก  ข  ค  ต  ป  ผ  พ  พยัญชนะตัวหลังเป็น ร , ล หรือ ว เรียกว่าอักษรควบกล้ำแท้ 2) อักษรตัวหน้าเป็น จ ซ ศ ษ ส พยัญชนะตัวหลังเป็น ร ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้าเพียงตัวเดียว และ3) พยัญชนะตัวหน้าเป็น ท พยัญชนะตัวหลังเป็น ร เปลี่ยนเสียง ทร เป็นเสียง ซ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

 ท 4.1 ป. 2/2    เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ

จุดประสงค์

1 ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

     1) บอกลักษณะของคำกล้ำไม่แท้ได้

      2) บอกความหมายของควบกล้ำไม่แท้ได้

2 ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

        - อ่านออกเสียงคำควบกล้ำไม่แท้ได้         

3 ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

        - เห็นความสำคัญของการอ่านและเขียนคำควบกล้ำ

การวัดผลและประเมินผล

- ใบงานที่ 4 เรื่องคำควบกล้ำไม่แท้

ปีการศึกษา 2566 / 2
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ 19 ชวนเชิญรักษ์ไทย
ชั่วโมง ชวนเชิญรักษ์ไทย
เรื่อง ฝึกย้ำทวน คำควบกล้ำ (3) 4 มี.ค. 67 (มีใบงานและบัตรคำ)