สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พันท้ายนรสิงห์ถวายชีวิต เป็นการเล่าเรื่องราววีรกรรมของพันท้ายนรสิงห์เมื่อครั้งเหตุการณ์โขนเรือหัก พันท้ายนรสิงห์ได้แสดงความรับผิดชอบต่อหน้าที่

ขอรับโทษตัดหัวตามประเพณี แม้สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ จะทรงอภัยโทษให้ แต่พันท้ายนรสิงห์ก็ยืนยันขอรับโทษตัดหัวตามกฎมณเทียรบาล สมเด็จพระสรรเพชญที่ ๘ จำใจลงโทษตัดหัว

ตามกฎมณเทียรบาลและสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์เพื่อแสดงถึงแบบอย่างของข้าราชการที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การเคารพกฎหมาย (กฎ-มณเทียรบาล) มีความจงรักภักดีและความซื่อสัตย์

ดังนั้น ผู้เรียนจะต้องถอดคำประพันธ์โคลงสี่สุภาพเพื่อศึกษารายละเอียดของเนื้อหาให้เกิดความเข้าใจ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

             ๑. บอกความหมายของคำศัพท์จากโคลงภาพพระราชพงศาวดารตอนพันท้ายนรสิงห์ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

๑. ถอดคำประพันธ์จากโคลงภาพพระราชพงศาวดารตอนพันท้ายนรสิงห์ได้

๒. เขียนสรุปความรู้จากโคลงภาพพระราชพงศาวดารตอนพันท้ายนรสิงห์ได้

ด้านคุณลักษณะ

- คุณลักษณะอันพึงประสงค์

๑. ใฝ่เรียนรู้

๒. มุ่งมั่นในการทำงาน

๓. รักความเป็นไทย

- คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

๑. ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

              ๒. มีมารยาทในการเขียน

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

๑. ความสามารถในการคิด

             ๒. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ  

- การตรวจใบงาน       

เครื่องมือ

- คำถาม   

- ใบงาน

- แบบประเมินผลการเรียนรู้ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สะท้อนสารผ่านวินิจฉัย (Rerun)
ชั่วโมง สะท้อนสารผ่านวินิจฉัย
เรื่อง เพิ่มพูนพงศาวดาร (3) 18 ต.ค. 66 (มีใบงาน)