สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ขั้นตอนในการแก้ปัญหา นักเรียนควรวิเคราะห์โจทย์ก่อนว่าต้องการทราบอะไร  และกำหนดอะไรให้ จากนั้นลองหาแนวคิดที่ใช้ในการแก้ปัญหา ซึ่งบางครั้งการใช้แผนภาพ ตาราง หรือการวาดภาพประกอบก็จะช่วยทำให้เข้าใจสถานการณ์ปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ในการหาผลบวกหรือผลลบควรระวังลำดับของการคำนวณด้วย ซึ่งการใส่วงเล็บ จะทำให้เกิดความชัดเจนและสะดวกในการดำเนินการมากขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/1  เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ  และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้     

นักเรียนสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการบวกและการลบเศษส่วน  รวมถึงสมบัติของการบวกเศษส่วน ไปใช้ในการคิดคำนวณ

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 การสังเกตการทำกิจกรรมและความถูกต้อง

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบบันทึกการทำกิจกรรมน้อยสุด จุดคว้าชัย

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร (Rerun)
ชั่วโมง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร
เรื่อง ผลลัพธ์ที่ได้ คิดง่ายจัง (4) 24 ต.ค. 66 (มีใบกิจกรรม และลูกเต๋าเศษส่วน)