สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

กฎหมายอาญา คือ กฎหมายที่บัญญัติว่า การกระทำหรือไม่กระทำการอย่างใดเป็นความผิดและกำหนดโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดไว้ด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่ง กฎหมายอาญา คือกฎหมายที่บัญญัติห้ามมิให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด หรือบังคับให้มีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดโดยผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับโทษ สำหรับกฎหมายแพ่ง คือ กฎหมายว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น เรื่องสภาพบุคคล ทรัพย์ หนี้ นิติกรรม ครอบครัว และมรดก เป็นต้น การกระทำผิดทางแพ่ง ถือว่าเป็นการละเมิดต่อบุคคลที่เสียหายโดยเฉพาะไม่ทำให้ประชาชนทั่วไปเดือดร้อนอย่างการกระทำผิดอาญา

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

 ตัวชี้วัด

ส 2.1 ม.๓/1    อธิบายความแตกต่างของ การกระทำความผิดระหว่าง คดีอาญา และคดีแพ่ง

จุดประสงค์การเรียนรู้

-  ด้านความรู้

  1. นักเรียนอธิบายความหมายของกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งได้

-  ด้านทักษะกระบวนการ

  1. อภิปรายความแตกต่างระหว่างกฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่งได้

-  ด้านคุณลักษณะคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  1. ใฝ่เรียนรู้
  2. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  3. มุ่งมั่นในการทำงาน

-  คุณลักษณะเฉพาะ

  1. เคารพกฎหมาย  โดยสามารถเลือกตัวอย่างการกระทำความผิดหรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับกฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่งที่คิดว่าต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน และเสนอแนวทางป้องกันที่จะไม่ให้เกิด

การวัดผลและประเมินผล

การประเมินผล

วิธีการวัด

-  ตั้งคำถามนำและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

-  แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
ชั่วโมง รู้กฎหมายสิทธิไม่ลิดรอน
เรื่อง กฎหมายอาญาและกฎหมายแพ่ง 7 ส.ค. 66 (มีบัตรคำ)