คำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้
คำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ ๒ รูป ๓ เสียง คาน ค่าน ค้าน พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี
คำตาย สระเสียงยาว ผันได้ ๒ รูป๓ เสียง คาด ค้าด ค๋าด พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา
คำตาย สระเสียงสั้น ผันได้ ๒ รูป ๓ เสียง คะ ค่ะ ค๋ะ พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา
อักษรคู่ ถ้าผันเสียงคู่กับอักษรสูงจะสามารถผันได้ครบ ๕ เสียง เช่น คา ข่า ค่า - ข้า ค้า ขา
อักษรเดี่ยว เมื่อมี “ห” หรืออักษรสูง หรืออักษรกลางมานำจะผันเสียงได้ตามอักษรที่นำ เช่น หนา หน่า หน้า หรือคำว่า “ตลาด” จะอ่านว่า “ตะ-หลาด” ไม่ใช่ “ตะ - ลาด” เป็นต้น
มาตรฐานการเรียนรู้ ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษา และพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
ป.๒/๒ เขียนสะกดคำและบอกความหมายของคำ
จุดประสงค์
๑. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- จำแนกคำอักษรต่ำได้
๒. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- ผันวรรณยุกต์อักษรต่ำได้ถูกต้อง
- เขียนคำที่เป็นอักษรต่ำได้ถูกต้อง
๓. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- ตระหนักถึงการอ่านและเขียนคำในภาษาไทยให้ถูกต้อง
๑. ใบงานที่ ๕ เรื่อง เติมรูปวรรณยุกต์
๒. ใบงานที่ ๖ เรื่อง เติมคำลงในช่องว่าง