สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สระอำ คือ สระเกิน ที่มีเสียงพยัญชนะประสมหรือสะกดอยู่ด้วย อำ ประสมจากเสียงสระ อะ และพยัญชนะ ม สะกด (อัม) เช่น ขำ บางครั้งออกเสียงยาว (อาม) เช่น น้ำ ซึ่งตำแหน่งการเขียนสระอำ จะอยู่ข้างบนและข้างหลังพยัญชนะต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย  การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา  ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ

ตัวชี้วัด

ป๒/๑  บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และเลขไทย

จุดประสงค์

๑. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

     - บอกลักษณะคำที่ประสมสระอำได้

     - บอกคำที่ประสมสระอำได้

๒. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

     - อ่านคำที่ประสมสระอำได้ถูกต้อง

     - เขียนคำที่ประสมสระอำได้ถูกต้อง

๓. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

     - เห็นความสำคัญของการอ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง

การวัดผลและประเมินผล

- ใบงานที่ ๑ เขียนคำจากภาพ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๕ รู้จักอาขยาน
ชั่วโมง รู้จักอาขยาน
เรื่อง สระอำ จำให้ดี (๑) ๑๔ ก.ค. ๖๖ (มีใบงานและใบความรู้)