๑. สระเอียะ เป็นคำที่มีใช้ไม่มาก มักเป็นคำในภาษาถิ่น เช่น แม่เหียะ และคำที่มาจากภาษาจีน เช่น เกี๊ยะ (ชื่อรองเท้าแบบหนึ่ง) ขนมเปี๊ยะ (ชื่อขนมชนิดหนึ่ง) เจี๊ยะ (กิน) สระเอีย เป็นสระประสม เกิดจากการประสมของสระอีและสระอา ออกเป็นเสียงสระเอีย เช่นคำว่า เสีย เปีย เตี้ย เป็นต้น
๒. การตั้งคำถามและตอบคำถามจากเรื่องที่อ่าน เป็นการทบทวนเรื่องที่อ่านเพื่อตรวจสอบความเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ นำไปสู่การจับใจความสำคัญจากเรื่องที่อ่านได้ถูกต้อง
มาตรฐาน ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาและพลังของภาษา ภูมิปัญญาทางภาษาและรักษาภาษาไทยไว้เป็นสมบัติของชาติ
ตัวชี้วัด
ป๒/๑ บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และเลขไทย
มาตรฐาน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่าน สร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน
ตัวชี้วัด
ป ๒/๓ ตั้งคำถามและคำตอบเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
จุดประสงค์
๑. ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)
- บอกลักษณะคำที่ประสมสระเอียได้
- ตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านได้
๒. ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
- อ่านคำที่ประสมสระเอียได้ถูกต้อง
- เขียนคำที่ประสมสระเอียได้ถูกต้อง
๓. ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)
- เห็นความสำคัญของการอ่านและเขียนสะกดคำได้ถูกต้อง
๑. ใบงานที่ ๑๓ ตอบคำถามจากเรื่อง ลูกนกหกตัว
๒. ใบงานที่ ๑๔ คำที่ประสมสระเอีย จากบทอ่านเรื่อง ลูกนกหกตัว