๑. วรรณยุกต์ในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรีเสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอก ระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ◌่ (ไม้เอก) ◌้ (ไม้โท) ◌๊ (ไม้ตรี) ◌๋ (ไม้จัตวา) จากหลักการผันวรรณยุกต์ ของไตรยางศ์เสียงกับรูปอาจไม่ตรงกันก็ได้
๒. ตัวเลขไทย เป็นอักษรตัวเลขที่ใช้แสดงจำนวนนับในภาษาไทย ประดิษฐ์ขึ้นโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช โดยดัดแปลงมาจากตัวอักษร และมีต้นตอมาจากอักษรเทวนาครีของอินเดีย เช่นเดียวกับเลขอารบิก เป็นหนึ่งในไม่กี่ภาษา ที่ใช้ระบบจำนวนนับเป็นเลขฐานสิบ และมีการเปลี่ยนแปลงสัณฐาน จากอดีตสู่ปัจจุบันน้อยมาก
ตัวชี้วัด
ป ๒/๑ บอกและเขียนพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และเลขไทย
จุดประสงค์
ด้านความรู้ความเข้าใจ (K)
๑) บอกวรรณยุกต์ในภาษาไทยได้
๒) บอกตัวเลขไทยได้
ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)
๑) เขียนวรรณยุกต์ในภาษาไทยได้
๒) เขียนตัวเลขไทยได้
ด้านคุณลักษณะ เจตคติค่านิยม (A)
- เห็นความสำคัญของการอ่านและเขียนวรรณยุกต์และตัวเลขไทย
๑. เขียนคำตามรูปวรรณยุกต์ลงในสมุดงาน
๒. เขียนตัวเลขลงในสมุดงาน