สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ข้างขึ้น ข้างแรมเป็นวัฏจักร เพราะเป็นปรากฏการณ์ที่มองเห็นรูปร่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเป็นแบบรูปซ้ำเช่นนี้ทุกเดือน เราใช้ประโยชน์ของการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของดวงจันทร์ที่เป็นแบบรูปซ้ำในการเรียกวัน เช่น วันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 วันแรม 1 ค่ำเดือน 10

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม และการเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของดวงจันทร์

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต เกี่ยวกับรูปร่างและเวลาที่ดวงจันทร์ปรากฏบนท้องฟ้า

2. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ โดยสามารถหาความสัมพันธ์ตำแหน่งของดวงจันทร์ขณะโคจรรอบโลกกับพื้นที่ที่ดวงจันทร์ได้รับแสงจากดวงอาทิตย์และหันเข้าหาโลก

3. การสร้างแบบจำลอง เกี่ยวกับการอธิบายความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วยแบบจำลองเพื่ออธิบายแบบรูปการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลกในรอบหนึ่งเดือน และการเปลี่ยนแปลงเวลาขึ้นและตกของดวงจันทร์

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

          1. การตอบคำถามในใบงาน  และการนำเสนอแบบจำลองเพื่ออธิบายการเกิดข้างขึ้น ข้างแรม และการเปลี่ยนแปลงเวลาการขึ้นและตกของดวงจันทร์

          2. การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองแสดงให้เห็นถึงสัมพันธ์ของแบบรูปการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและส่วนสว่างของดวงจันทร์ที่หันเข้าหาโลกในรอบหนึ่งเดือน

เครื่องมือ

1. ใบความรู้ที่ 1 ข้างขึ้น ข้างแรม

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โลก ดวงดาว และอวกาศ
ชั่วโมง โลก ดวงดาว และอวกาศ
เรื่อง ข้างขึ้น ข้างแรม (2) 19 ก.ย. 66 (มีใบงานใบความรู้)