สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การโคจรเปลี่ยนตำแหน่งของโลกรอบดวงอาทิตย์ในลักษณะที่แกนโลกเอียงในทิศทางเดิมเสมอทำให้คนบนโลกมองเห็นการเคลื่อนที่ของดวงอาทิตย์แตกต่างไปในรอบปี โดยตำแหน่งและเส้นทางการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์จะเปลี่ยนแปลงไม่เหมือนเดิม

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายการเปลี่ยนตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบปี

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต เกี่ยวกับแบบรูปการณ์เปลี่ยนตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในรอบปี

2. การหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ โดยสามารถหาความสัมพันธ์ของเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ในแต่ละวันในรอบปี

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

การตอบคำถามในใบงาน  และการนำเสนอแบบจำลองเพื่ออธิบายเปลี่ยนตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในรอบปี

เครื่องมือ

1. ใบความรู้ที่ 1 การเปลี่ยนตำแหน่งและเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้าในรอบปี

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง โลก ดวงดาว และอวกาศ
ชั่วโมง โลก ดวงดาว และอวกาศ
เรื่อง การเคลื่อนที่ปรากฏของดวงอาทิตย์ (2) 12 ก.ย. 66 (มีใบความรู้)