สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แสงสะท้อนของแสงและการหักเหของแสงนำไปใช้อธิบายการทำงานของทัศนอุปกรณ์ เช่น โพรเจกเตอร์หรือเครื่องฉายภาพ มีหลักการทำงานคือใช้เลนส์นูนเพื่อให้เกิดภาพจริงปรากฎบนฉากมีขนาดใหญ่กว่าวัตถุ โดยต้องวางวัตถุอยู่ห่างจากเลนส์นูนที่ระยะมากกว่าความยาวโฟกัส (f) แต่ไม่เกินสองเท่าของความยาวโฟกัน (2f) ซึ่งสามารถนำหลักการทำงานนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อสร้างโพรเจกเตอร์อย่างง่ายได้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายหลักการทำงานของโพรเจกเตอร์อย่างง่าย

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การวัด วัดขนาดในการออกแบบและระยการติดตั้งเพื่อสร้างโพรเจกเตอร์อย่างง่าย

          - การสร้างแบบจำลองโพรเจกเตอร์อย่างง่ายและใช้แบบจำลองเพื่อธิบายหลักการทำงานของโพรเจกเตอร์

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การจัดการตนเอง โดยระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลา

           - การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม มีการสะท้อนการทำงานและให้ช้อเสนอแนะในการปรับปรุงการทำงาน

          - การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้ความรู้เรื่องการหักเหของแสงในการอธิบายการทำงานของทัศนอุปกรณ์และใช้แบบจำลองประกอบการอธิบาย

 

 

 

 

 

 

 

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับส่วนประกอบและการทำงานของโพรเจกเตอร์อย่างง่ายอย่างถูกต้อง

2. การออกแบบโปสเตอร์เพื่ออธิบายหลักการทำงานของโพรเจกเตอร์อย่างง่ายอย่างถูกต้อง

3. การทำแบบฝึกหัดเรื่องความสว่างได้อย่างถูกต้อง

4. การวัด จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยใช้เครื่องมือวัดขนาดในการออกแบบและสร้างโพรเจกเตอร์อย่างง่ายเป็นตัวเลขได้ถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งระบุหน่วยของการวัดได้ถูกต้อง

5. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและชิ้นงาน โดยสร้างและใช้แบบจำลองโพรเจกเตอร์อย่างง่ายเพื่ออธิบายหลักการทำงานของโพรเจกเตอร์ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

6. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความกระตือรือร้น สืบเสาะหาคำตอบระหว่างการทำกิจกรรม

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างทำกิจกรรม และความสำเร็จของการทำงาน

8. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการเข้าใจเป้าหมายการทำงาน รับผิดชอบการทำงานของตนเองตามบทบาทหน้าที่ภายในกลุ่ม มีวินัยในการทำงานจนบรรลุเป้าหมายที่ตนเองได้รับ

9. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงาน และการบันทึกผลการทำกิจกรรม ที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานจนบรรลุเป้าหมาย ตลอดจนมีสว่นร่วมสะท้อนการทำงานและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการทำงาน โดยมีการยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างภายในกลุ่ม

10. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงานและการออกแบบโปสเตอร์ ซึ่งใช้ความรู้เรื่องการหักเหของแสงในการอธิบายการทำงานของโพรเจกเตอร์อย่างง่าย และใช้แบบจำลองประกอบการอธิบายได้ถูกต้อง

เครื่องมือ

          1. ใบงานที่ 1 มาสร้างโพรเจกเตอร์อย่างง่ายด้วยตัวเองกันเถอะ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง การประยุกต์ใช้ (1) 22 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)