สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การสะท้อนและการหักเหของแสงนำไปใช้อธิบายการมองเห็นของตาและการทำงานของทัศนอุปกรณ์ได้ดวงตาประกอบด้วยเลนส์ตาเป็นเลนส์นูน ที่สามารถปรับความยาวโฟกัสได้ เพื่อให้เกิดภาพชัดที่เรตินา คนที่มีความบกพร่องทางสายตาได้แก่สายตาสั้นหรือสายตายาว การทำงานของเสายตาภาพที่เกิดไม่ได้ตกที่เรตินา การแก้ไขสภาวะสายตาสั้นทำได้โดยการใช้เลนส์เว้า ส่วนการแก้ไขสภาวะสายตายาวทำได้โดยใช้เลนส์นูน เพื่อให้แสงที่หักเหออกจาก  เลนส์ตาไปตกกระทบที่เรตินาได้พอดี

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายการทำงานของเลนส์ตาและการมองเห็นของตา

- ระบุความบกพร่องเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตาและการแก้ไข

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต เกี่ยวกับลักษณะของคำที่ระยะต่าง ๆ ซึ่งมองเห็นจากคนสายตาปกติ

          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการมองเห็นภาพของเลนส์ตาและความบกพร่องของสายตาเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตา

          - การสร้างแบบจำลอง โดยเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสง การเกิดภาพ เพื่ออธิบายการเห็นภาพของเลนส์ตา และความบกพร่องของสายตา

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้องมูลให้สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

          - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

          - ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการมองเห็นภาพของเลนส์ตาและความบกพร่องของสายตาเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตา

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับส่วนประกอบและการทำงานของตาในการมองเห็นอย่างถูกต้อง

2. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับความบกพร่องทางสายตาเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตาและการแก้ไขอย่างถูกต้อง
3. การสังเกต จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยบันทึกการสังเกตของคนสายตาปกติที่มองลักษณะของคำ เมื่อคำนั้นอยู่ที่ระยะต่าง ๆ อย่างละเอียดและไม่ลงความเห็นของผู้สังเกตลงไป

4. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลการทำกิจกรรมและตอบคำถามในใบงาน โดยแปลความหมายการมองเห็นภาพของเลนส์ตาและความกพร่องของสายตาเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตา

5. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม โดยสร้างแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่ของแสง และการเกิดภาพของเลนส์ตา เพื่ออธิบายการมองเห็น และความบกพร่องของสายตา ให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

6. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

7. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงาน

8. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างทำกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

9. จากการตอบคำถามในใบงาน วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการมองเห็นภาพของเลนส์ตา และความบกพร่องของสายตาเนื่องจากความผิดปกติของเลนส์ตาที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบงานที่ 2 การมองเห็นวัตถุของคนสายตาปกติเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง ดวงตาและทัศนอุปกรณ์ (2) 15 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)