สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แผ่นสะท้อนแสงผิวโค้งเว้าจะรวมแสงขนานที่มาตกกระทบวัตถุ ที่จุดจุดหนึ่งเรียกว่าจุดโฟกัส ในขณะที่แผ่นสะท้อนแสงผิวโค้งนูนจะกระจายแสงออก ภาพของวัตถุที่ปรากฏจากกระจกเว้ามีทั้งภาพหัวตั้งและหัวกลับ ขนาดใหญ่กว่า เท่ากับ หรือเล็กกว่าวัตถุ และมีทั้งที่ปรากฎบนฉากและไม่ปรากฏบนฉาก ส่วนภาพที่เกิดจากกระจกนูนเป็นภาพหัวตั้งในกระจกซึ่งมีขนาดเล็กกว่าวัตถุเสมอและไม่ปรากฎบนฉาก

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายการเกิดภาพเนื่องจากการสะท้อนของแสงบนกระจกผิวโค้ง

- เขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงแสดงการเกิดภาพจากกระจกเงาโค้ง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

- การสังเกต โดยสังเกตรังสีของแสง ที่ตกกระทบและสะท้อนจากกระจกเงาโค้ง และภาพที่เกิดในกระจกเงาโค้งแบบต่าง  ๆ

- การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายข้อมูลจากการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับการเกิดภาพในกระจกเงาโค้งแบบต่าง ๆ

- การสร้างแบบจำลอง โดยเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงเพื่อใช้อธิบายการสะท้อนของแสงและการเกิดภาพจากระจกเงาโค้งแบบต่าง ๆ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

- วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

 - ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

- ความมุ่งมั่นอดทน โดยตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานนำไปสู่การอธิบาย ลงข้อสรุป และทำให้งานสำเร็จ

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

- การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระยะวัตถุกับระยะภาพ และภาพที่เกิดจากกระจกเงาโค้ง และนำไปอธิบายปรากฎการณ์ที่กำหนดให้

- การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลงความหมายข้อมูลจากผลการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปความสัมพันธ์ของระยะวัตถุ ระยะภาพ และภาพที่เกิดจากการสะท้อนแสงบนกระจกเงาโค้งแบบต่าง ๆ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถามในใบงานเกี่ยวกับการเขียนแผนภาพการสะท้อนของแสงและการเกิดภาพกระจกผิวโค้งเว้า และโค้งนูนอย่างถูกต้อง 

2. การสังเกต การบันทึกผลการสะท้อนของแสงและภาพที่เกิดจากกระจกผิวโค้งอย่างความละเอียดรอบคอบ และไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป
3. การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป จากการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงาน มีการแปลความหมายข้อมูลและสุรปความสัมพันธ์ของข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนภาพการสะท้อนแสงและการเกิดภาพจากกระจกผิวโค้งแบบต่างๆ

4. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลกิจกรรมและตอบคำถามในใบงาน ใช้แผนภาพแสดงการเคลื่อนที่ของแสงในการสะท้อน แสดงตำแหน่งและลักษณะภาพ เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของตำแหน่งวัตถุ การสะท้อนแสงที่กระจกผิวโค้ง และลักษณะของภาพที่เกิดขี้นให้เข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง

5. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงาน ที่สะท้อนความสอดคล้องกันของหลักฐานและการแปลความหมายที่เที่ยงตรง

 6. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความอยากรู้อยากเห็นในการะหว่างการทำกิจกรรม

7. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความมุ่งมั่นอดทนในการทำงานระหว่างกิจกรรมและความสำเร็จของการทำงาน

8. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการบันทึกผลการทดลอง สร้างคำอธิบายที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และการมองเห็นภาพจากกระจกเงาผิวโค้งแบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง

9. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างระยะวัตถุ ระยะภาพ และการมองเห็นภาพจากกระจกเงาผิวโค้งแบบต่าง ๆ ที่สะท้อนความสัมพันธ์ของข้อมูลหรือหลักฐาน

เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 3  การเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงในกระจกเงาโค้งเป็นอย่างไร

          2. ใบงานที่ 3 การเขียนแผนภาพการเคลื่อนที่ของแสงในกระจกเงาโค้งเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง แสง
ชั่วโมง แสง
เรื่อง การสะท้อนของแสง (4)(ต่อ) 18 ก.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)