สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แผนภาพต้น–ใบ เป็นการนำเสนอข้อมูลเชิงปริมาณที่มีการเรียงลำดับข้อมูล ทำได้โดยแบ่งตัวเลขที่แสดงข้อมูลเชิงปริมาณออกเป็นส่วนลำต้นและส่วนใบ โดยส่วนใบจะเป็นตัวเลขที่อยู่ขวาสุด ส่วนตัวเลขที่เหลือจะเป็นส่วนลำต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถเขียนหรืออธิบายวิธีการนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภาพต้น–ใบ

ด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นักเรียนสามารถนำเสนอข้อมูลที่กำหนดให้ในรูปแผนภาพต้น–ใบ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. ตรวจกิจกรรม 3 : ปลูกต้นได้ใบ

2. ตรวจแบบฝึกหัด 3 : การเขียนแผนภาพต้น–ใบ

3. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

 เครื่องมือ

1. กิจกรรม 3 : ปลูกต้นได้ใบ

2. แบบฝึกหัด 3 : การเขียนแผนภาพต้น–ใบ

3. แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

4. แบบวัดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 ความในใจของข้อมูล
ชั่วโมง ความในใจของข้อมูล
เรื่อง ต้นใบให้ข้อมูล (1) 25 ก.ย. 66 (มีใบกิจกรรม แบบฝึกหัด)