สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

เรื่องสั้น คือ งานเขียนร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยายแต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบทิ้งให้คิด

การจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้น ผู้อ่านต้องวิเคราะห์ว่าในเรื่องสั้นมีสาระสำคัญอย่างไร ผู้เขียนมีจุดมุ่งหมายใด ซึ่งผู้เขียนจะสอดแทรกแนวคิด จุดมุ่งหมายไว้ในเนื้อเรื่อง

เมื่อนักเรียนศึกษาแล้วจะทำให้นักเรียนสามารถวิเคราะห์ และจับใจความสำคัญจากเรื่องสั้นได้อย่างถูกต้อง สามารถนำเอาแนวคิดที่ได้รับไปปรับใช้กับสถานการณ์ในชีวิตจริงได้ 

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. อธิบายลักษณะของเรื่องสั้น

          2. วิเคราะห์แนวคิดสำคัญจากเรื่องสั้น

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นำเสนอผลงานอย่างเหมาะสม

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

   - คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ 14  เรื่อง เรื่องสั้นสะท้อนแนวคิด

เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง สุขสันต์กับเรื่องสั้น (2) 31 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)