สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอ่านจับใจความสำคัญ คือ การอ่านเพื่อเก็บสาระสำคัญ ความรู้ ข้อมูลที่น่าสนใจ แนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียนจากเรื่องที่อ่าน ซึ่งใจความสำคัญจะปรากฎอยู่ในเนื้อเรื่องตำแหน่งต่าง ๆ

เช่น ตอนต้นย่อหน้า ตอนกลางย่อหน้า ตอนท้ายย่อหน้า ตอนต้นและตอนท้าย  ย่อหน้า และไม่ปรากฎในย่อหน้านั้น ๆ ซึ่งเมื่อผู้เรียนได้เรียนรู้แล้วก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าส่วนใดเป็นใจความสำคัญ

และส่วนใดเป็นพลความ (ส่วนขยาย) เพื่อนำไปพัฒนาตนเองด้านกระบวนการคิดต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. วิเคราะห์องค์ประกอบของเรื่องสั้นที่อ่านได้

          2. วิเคราะห์แนวคิดสำคัญและนำปรับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้                         

ด้านทักษะกระบวนการ

  1. นำเสนอผลงานอย่างเหมาะสม

ด้านคุณลักษณะ

 - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มุ่งมันในการทำงาน

2. รักความเป็นไทย

      - คุณลักษณะเฉพาะ

1. เห็นคุณค่าวรรณคดี และลักษณะคำประพันธ์ไทย

             2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงานที่ 13 เรื่อง ใจความสำคัญอยู่แห่งใดหนอ

 เครื่องมือ

- คำถาม

- ใบงาน

- ใบความรู้

- แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
ชั่วโมง โน้มน้าวใจให้เชื่อถือ
เรื่อง สุขสันต์กับเรื่องสั้น (1) 30 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)