สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

โคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัย ขาดคอช้าง เป็นบทประพันธ์เรื่องนี้มีความโดดเด่น ในด้านวรรณศิลป์ คือ การใช้คำและเสียงที่ทำให้เห็นภาพได้ ผู้อ่านสามารถจินตนาการกองทัพอันยิ่งใหญ่
เกรียงไกร เครื่องแต่งกายอันสง่างาม ช้างศึกที่วิ่งไล่ตามอย่างกระชั้นชิด และการต่อสู้กันบนหลังช้าง ทำให้รู้สึกได้ราวกับ อยู่ในเหตุการณ์จริง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายคุณค่าด้านวรรณศิลป์จากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอน พระสุริโยทัยขาดคอช้าง

ด้านทักษะและกระบวนการ

วิเคราะห์คุณค่าด้นวรรณศิลป์จากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร ตอนพระสุริโยทัยขาดคอช้าง

ด้านคุณลักษณะ

  1. ใฝ่เรียนรู้
  2. มุ่งมั่นในการทำงาน
  3. รักความเป็นไทย
  4. ซื่อสัตย์สุจริต
  5. มีวินัย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ   - การตรวจใบงาน       

เครื่องมือ

- คำถาม    - ใบงาน

- แบบประเมินผลการเรียนรู้ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7 หน่วยการเรียนรู้ที่ 2

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 สะท้อนสารผ่านวินิจฉัย
ชั่วโมง สะท้อนสารผ่านวินิจฉัย
เรื่อง เพิ่มพูนพงศาวดาร (4) 5 ก.ค. 66 (มีใบงาน)