สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ ใช้คำไทยแท้และคำภาษาถิ่นเหนือเป็นส่วนมากมีคำเขมร บาลี และสันสกฤตปะปนบ้างเล็กน้อย อักษรที่ใช้ในการจารึกเรียกว่า ลายสือไทย โดยพ่อขุนรามคำแหง

กษัตริย์ลำดับที่ ๓ แห่งอาณาจักรสุโขทัยทรงประดิษฐ์ขึ้นจากตัวอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิมซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญโบราณ โดยได้ประดิษฐ์ขึ้นใน พ.ศ. ๑๘๒๖

ซึ่งลายสือไทย ประกอบไปด้วยพยัญชนะทั้งหมด ๓๙ ตัว สระ ๒๐ ตัว และวรรณยุกต์ ๒ รูป มีลักษณะแตกต่างจากตัวอักษรไทยในปัจจุบันรวมถึงมีหลักการเขียนและการอ่านที่ต่างกัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

วิเคราะห์โครงสร้างประโยคในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

          ฝึกเขียนประโยคจากโครงสร้างประโยคในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ได้

ด้านคุณลักษณะ

     - คุณลักษณะอันพึงประสงค์

               ๑. ใฝ่เรียนรู้

               ๒. มุ่งมั่นในการทำงาน

               ๓. รักความเป็นไทย

     - คุณลักษณะเฉพาะ (ของแต่ละวิชา)

                    ๑. ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                    ๒. มีมารยาทในการเขียนและการพูด

สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

                    ๑. ความสามารถในการสื่อสาร

                    ๒. ความสามารถในการคิด

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบ

- การตรวจใบงาน        

เครื่องมือ

- คำถาม   

- ใบงาน

- แบบประเมินผลการเรียนรู้ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรียงถ้อยร้อยอักษร
ชั่วโมง เรียงถ้อยร้อยอักษร
เรื่อง งามศิลป์เรียงความ (1) 7 มิ.ย. 66 (มีใบงาน)