สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

วัตถุที่มีประจุไฟฟ้าทั้งประจุบวกและประจุลงเป็นแหล่งของสนามไฟฟ้า โดยสนามไฟฟ้ามีทิศทางพุ่งออกจากแหล่งสนามที่มีประจุบวก และมีทิศทางพุ่งเข้าหาแหล่งสนามที่มีประจุลบ

ทั้งนี้แรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุบวกจะมีทิศทางเดียวกับทิศทางของสนามไฟฟ้า ส่วนทิศทางของแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อประจุลบจะมีทิศทางตรงข้ามกับทิศทางของสนามไฟฟ้า

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.2 ม.2/6 – 2/8

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

๑. ระบุแหล่งของสนามไฟฟ้า

๒. ระบุทิศทางของสนามไฟฟ้า

๓. ระบุทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนามไฟฟ้า

๔. อธิบายความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนามไฟฟ้ากับระยะห่างจากแหล่งของสนามไฟฟ้าถึงวัตถุ

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

๑. การสังเกต โดยสังเกตขนาดของแรงและทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนามไฟฟ้า

๒. การวัด โดยวัดความยาวเพื่อระบุขนาดของแรงไฟฟ้าที่กระทำต่อวัตถุ

๓. การสร้างแบบจำลอง โดย เขียนแผนภาพแสดงทิศทางของสนามไฟฟ้า พร้อมทั้งเขียนแผนภาพแสดงขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุในสนามไฟฟ้า

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

๑. มุ่งมั่นในการทำงาน โดย ตั้งใจและรับผิดชอบทำกิจกรรมสำเร็จ

๒. ใฝ่เรียนรู้ โดยเอาใจใส่และมีความเพียรพยายามในการเรียนรู้

๓. วัตถุวิสัย โดยแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

๑. การสื่อสารโดยนำเสนอผลการทำกิจกรรมด้วยรูปแบบและวิธีการที่เข้าใจง่าย ประเมินจุดเด่นและข้อควรปรับปรุงของการนำเสนอ พร้อมเสนอแนะแนวทางปรับปรุง

๒. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยระบุแหล่งของสนามของแรง และใช้สัญลักษณ์และแผนภาพแสดงแรงที่กระทำต่อวัตถุในสนามของแรงเพื่ออธิบายสนามของแรง

๓. การแปลความหมายข้อมูลและใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลงความหมายข้อมูลจากข้อมูลที่มีและข้อมูลจากการทำกิจกรรม และลงข้อสรุปเกี่ยวกับแหลงของสนามของแรง ทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุที่อยู่ในสนาม และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงที่กระทำต่อวัตถุในสนาม กับระยะห่างจากแหล่งของสนามถึงวัตถุ

ด้านความรู้

ประเมินจาก

การตอบคำถามในใบงาน อธิบายเกี่ยวกับสนามไฟฟ้า แหล่งสนาม ทิศทางของสนาม และแรงกระทำต่อวัตถุในสนาม และความสัมพันธ์ของแรงกระทำกับระยะห่างของวัตถุจากแหล่งสนามได้ถูกต้อง

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ประเมิน

๑. การสังเกต จากการบันทึกผล ได้อย่างละเอียด และไม่ใส่ความเห็นของผู้สังเกตลงไป

๒. การวัด จากการบันทึกผล ใช้เครื่องมือวัดความยาว ระยะห่างระหว่างวัตถุกับแหล่งสนามไฟฟ้า และระบุค่าที่วัดได้อย่างเหมาะสม

๓. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกและตอบคำตอบในใบงาน มีการใช้แผนภาพและสัญลักษณ์แสดงลักษณะและผลของแรง เพื่ออธิบายปฏิสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้า แรงกระทำ และวัตถุ ให้เข้าใจได้ถูกต้อง

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

ประเมิน

๑. ความมุ่งมั่นในการทำงาน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

๒. ใฝ่เรียนรู้ จากการสังเกตพฤติกรรมที่กระตือรือร้น ให้ความสนใจสิ่งต่าง ๆ และหาทางสืบเสาะหาคำตอบสิ่งที่สงสัย

๓. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

ประเมิน

๑. การสื่อสาร จากพูดคุย อภิปราย และการนำเสนอผลกิจกรรมที่มีรูปแบบและวิธีการที่เข้าใจง่าย ประเมินจุดเด่นและปรับปรุงข้อควรปรับปรุง

๒. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการระบุแหล่งสนามของแรง ใช้สัญลักษณ์แผนภาพแสดงแรงและทิศทางของแรงในสนาม และการอธิบายสนามของแรง การบันทึกข้อมูลและตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอผลการทำกิจกรรม

๓. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลที่มี และลงข้อสรุปเกี่ยวกับแหล่งสนาม  แรงที่กระทำในสนาม และความสัมพันธ์ระหว่างขนาดของแรงกับระยะห่างจากแหล่งสนาม

การวัดผลและประเมินผล

- ใบกิจกรรมที่ 2 สนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้าเป็นอย่างไร

- ใบงานที่ 2 สนามไฟฟ้าและแรงไฟฟ้าเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แรงรอบตัว
ชั่วโมง แรงรอบตัว
เรื่อง สนามของแรง (2) 5 ต.ค. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)