สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

- เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนรูปร่าง

-  แรงเป็นปริมาณเวกเตอร์มีทั้งขนาดและทิศทาง สามารถเขียนแทนแรงได้ด้วยลูกศร โดยความยาวของลูกศรแทนขนาดของแรง และทิศทางของลูกศรแทนทิศทางของแรง

- แรงลัพธ์ คือ ผลรวมของแรงหลายแรงที่กระทำต่อวัตถุ สามารถหาขนาดและทิศทางของแรงลัพธ์ด้วยการรวมเวกเตอร์ของแรงแบบหางต่อหัว เมื่อแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุมีค่าเป็น

ศูนย์วัตถุจะไม่เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่โดยวัตถุจะยังคงอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงที่เช่นเดิม แต่ถ้าแรงลัพธ์ที่กระทำต่อวัตถุไม่เป็นศูนย์ วัตถุจะเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.2 ม.2/1 – 2/3

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. แสดงภาพเวกเตอร์ของแรงที่กระทำต่อวัตถุ และแรงลัพธ์ทั้งขนาดและทิศทาง

2. เขียนแผนภาพแสดงเวกเตอร์ของแรงที่เกิดจากแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุ

3. เขียนแผนภาพแสดงเวกเตอร์ของแรงลัพธ์ท่ีเกิดจากแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุโดยใช้วิธีการหาแรงลัพธ์แบบหางต่อหัว

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต สังเกตแรงที่กระทำกับทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ

2. การใช้จำนวน ใช้จำนวนที่เป็นขนาดของแรงคำนวณหาแรงลัพธ์ และคำนวณอัตราส่วนความยาวลูกศรต่อขนาดของแรง

3. การวัด วัดขนาดของแรงและแรงลัพธ์เพื่อสร้างเวกเตอร์ของแรงและแรงลัพธ์

4. การสร้างแบบจำลอง ใช้สัญลักษณ์และแผนภาพแทนเวกเตอร์ของแรง แสดงขนาดและทิศทางของแรงที่กระทำต่อวัตถุทุกแรง วิธีการรวมแบบหางต่อหัวให้ได้แรงลัพธ์ที่มีขนาดและทิศทาง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการพยากรณ์และสืบเสาะหาความรู้ตามที่สงสัยในการทำกิจกรรม

2. ความมุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

3. วัตถุวิสัย แปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ปัญหาของสถานการณ์โจทย์กเพื่อแสดงภาพแรง ใช้กระบวนการรวมเวกเตอร์หาแรงลัพธ์ และอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุ และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างระหว่างการอภิปราย

2. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้สัญลักษณ์เพื่ออธิบายขนาดและทิศทางของแรง วิธีการหาแรงลัพธ์ และผลของแรงลัพธ์ที่มีต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ด้านความรู้ ประเมิน

1. การนำเสนอผลงาน และแสดงความเห็นระหว่างเรียนมีความถูกต้องของเนื้อหา

2 การตอบคำถาม และเขียนแผนภาพแสดงเวกเตอร์ของแรงแรงลัพธ์ และผลการเคลื่อนที่ของวัตถุมีความถูกต้อง

 ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมิน

1. การสังเกต จากการบันทึกผลแรงกระทำ และทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุอย่างละเอียด โดยไม่เติมความเห็นของผู้สังเกตลงไป

2. การใชัจำนวน จากการบันทึกและตอบคำถามในใบงาน มีการใช้จำนวนเพื่อคำนวณหาคำตอบเกี่ยวกับขนาดของแรง และความยาวลูกศรแทนแรง

3. การวัด จากการบันทึกและตอบคำถามในใบงาน มีการวัดขนาดของแรงและสร้างเวกเตอร์แทนแรงที่มีความยาวถูกต้องด้วยไม้บรรทัด

4. การสร้างแบบจำลอง จากการบันทึกผลและตอบคำถามในใบงาน ใช้แผนภาพและสัญลักษณ์เพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของแรงและแรงลัพธ์ ขนาดของแรงลัพธ์และการเปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ประเมิน

1. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเห็นในการทำงานและผลของทำกิจกรรม

2. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงความมุ่งมั่นอดทนเพื่อทำงานระหว่างกิจกรรม และทำให้งานประสบความสำเร็จ

3. วัตถุวิสัย จากการบันทึกผลและการตอบคำถามในใบงานที่สะท้อนความสอดคล้องของหลักฐานอย่างเที่ยงตรง

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียนประเมิน

1. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตการมีส่วนร่วมในการอภิปรายร่วมกันในห้อง  และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อพยากรณ์ ตรวจสอบ เขียนแผนภาพ และอธิบายเกี่ยวกับแรง การหาแรงลัพธ์และการเคลื่อนที่ของวัตถุ

2. การอธิบายปรากฎการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากใช้สัญลักษณ์และแผนภาพเพื่ออธิบายขนาดและทิศทางของแรง วิธีการหาแรงลัพธ์ และผลของแรงลัพธ์ต่อการเคลื่อนที่ของวัตถุ

การวัดผลและประเมินผล

- ใบกิจกรรมที่ 1 แรงลัพธ์กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

- ใบงานที่ 1 แรงลัพธ์กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แรงรอบตัว
ชั่วโมง แรงรอบตัว
เรื่อง แรงลัพธ์กับการเคลื่อนที่ของวัตถุ (1) 14 ก.ย. 66