สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แหล่งน้ำใต้ดินเกิดจากการซึงลงไปของน้ำผิวดินลงไปสะสมใต้ผิวโลกซึ่งแบ่งเป็นน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.3 ม.2/8

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

      1. อธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดินจากแบบจําลอง

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. การสังเกต เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำไปยังบริเวณต่าง ๆ ภายในกล่องพลาสติกและการเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้หลอดหยดสาร หยดน้ำไปที่หินทรายและหินดินดาน ก้อนละ 1 หยด
  2. การพยากรณ์ เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำไป ยังบริเวณต่าง ๆ ภายในกล่องพลาสติก

การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ําใต้ดินจากแบบจําลอง 

  1. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลอง เกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ําใต้ดิน
  2. การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายกระบวนการ เกิดแหล่งน้ําใต้ดิน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทํางานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรมให้มากที่สุด และเขียนหรือบอกข้อมูลที่ปรากฏตามความเป็นจริง 

4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้ สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเท่ียงตรง ไม่มีอคติ ไม่นําความเชื่อส่วนตัว หรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการ ทํากิจกรรม เพื่อนําไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

            1. การสื่อสาร  โดยใช้ภาพ ข้อความ สัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบายกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

2. อธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจําลองมาใช้แปลความหมายและอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์โดย การตีความหมาย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้ 

1. การตอบคำถามในใบงาน  เกี่ยวกับการไหล ซึมของน้ำไปสะสมตัวบริเวณต่าง ๆ ภายใน กล่องพลาสติกและการเปลี่ยน แปลงต่าง ๆ เมื่อมีการดูดน้ำออกจากแก้วน้ำ การเชื่อมโยงความรู้จากการทํากิจกรรมไปสู่ปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          โดยประเมินจาก

1. การใช้ประสาทสัมผัสเก็บรายละเอียด เกี่ยวกับการไหลซึมของน้ำภายในกล่องพลาสติก และการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เมื่อมีการดูดน้ำออก  จากแก้วน้ำ และการเปลี่ยนแปลงเมื่อใช้หลอดหยด หยดน้ำไปที่หินทรายและ หินดินดาน ก้อนละ 1 หยด โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น 

2. การคาดการณ์การไหลซึมของน้ำในกล่องตั้งแต่เริ่มปล่อยน้ำจน    ระดับน้ำอยู่สูงจากพื้นกล่องพลาสติกใสประมาณ 5-7 เซนติเมตร และการเเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เมื่อมีการใช้ หลอดฉีดยาที่ต่อกับสายยาง ดูดน้ำในแก้วน้ำ อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยข้อมูลหรือความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างสมเหตุสมผลและครบถ้วน

3. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ว่า น้ำจะไหลซึมผ่านทรายจากด้านบนลงไปด้านล่าง และจะไหลผ่านทรายไป

การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดิน และปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินในแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน

4.การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสังเกต รวบรวมข้อมูล การอภิปราย และการสร้างแบบจำลองได้ด้วยตนเองหรือจากการชี้แนะของครูได้ว่า ในธรรมชาติน้ำผิวดินจะค่อย ๆ ไหลซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำในดินและน้ำบาดาล ตามลำดับ 

5. การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ําใต้ดิน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

โดยประเมินจาก

1. ความรอบคอบ จากพฤติกรรมที่แสดงความ รอบคอบและความละเอียดถ่ีถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การ ตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือก่อนทำกิจกรรม การทํางานอย่าง เป็นระเบียบเรียบร้อย

2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากพฤติกรรมที่มีการนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

3. ความซื่อสัตย์ จากการนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรมตามผลที่ได้จริงหรือที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ   จากการทํากิจกรรมตามผลการทํากิจกรรมท่ีได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง และ อย่างมีเหตุผล 

5. ความมุ่งมั่นอดทน จากพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำ กิจกรรม ให้เสร็จตามกําหนดอดทนต่อปัญหา

ด้านสมรรถนะ

          โดยประเมินจาก

1. การสื่อสาร จากการใช้ภาพ ข้อความหรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ เพื่ออธิบาย กระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดินให้เข้าใจง่ายและถูกต้อง

2. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน

3. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสมผลจากข้อมูล ที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองในการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำใต้ดิน 

เครื่องมือ

          - ใบกิจกรรมที่ 1 แหล่งน้ำใต้ดินมีกระบวนการเกิดอย่างไร

          - ใบงานที่ 1 แหล่งน้ำใต้ดิน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง แหล่งน้ำใต้ดิน (1) 13 ก.ค. 66 (มีใบกิจกรรม)