สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ปริมาณน้ำในแต่ละฤดู ปริมาณฝนที่ตกลงในพื้นที่

ระยะเวลาของการกัดเซาะของน้ำในพื้นที่ ภูมิประเทศ และโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหินในพื้นที่ ตลอดจน ขนาดของดิน หิน แร่

หรือตะกอนซึ่งมีขนาดเท่ากัน

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.3 ม.2/8

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดินจากแบบจําลอง

2. ระบุปัจจัยที่ทําให้แหล่งน้ำผิวดินในแต่ละ แหล่งมีลักษณะแตกต่างกันจากแบบจําลอง 

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต เกี่ยวกับลักษณะของกองตะกอน ชนิดเดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำด้วยระยะ เวลาที่แตกต่างกัน และลักษณะของกองตะกอนต่างชนิดกันที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่ากัน

2. การพยากรณ์ เกี่ยวกับลักษณะของกองตะกอนชนิดเดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน และลักษณะของกองตะกอนต่างชนิดกันที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่ากัน

3. การลงความเห็นจากข้อมูล เกี่ยวกับลักษณะของกองตะกอนที่เกิดจากการปล่อยน้ำลงบนกองตะกอนด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน และด้วยชนิดของกองตะกอนที่แตกต่างกันจากแบบจำลอง

4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการสังเกต จากการรวบรวมข้อมูล จากการอภิปรายและจากการสร้างแบบจําลอง เกี่ยวกับ กระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดินและปัจจัยที่ทําให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน

5. การสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายกระบวนการ เกิดแหล่งน้ำผิวดิน และปัจจัยที่ทําให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

  1. ความรอบคอบ ความละเอียดถี่ถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือต่าง ๆ รวมถึงการทํางานอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย 
  2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน โดยใช้หลักฐานที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดินและปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน 
  3. ความซื่อสัตย์ ในการเก็บรวบรวมหลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ จากการทํากิจกรรมให้มากท่ีสุด และเขียนหรือบอกข้อมูลที่ปรากฏตามความเป็นจริง 
  4. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลให้ สอดคล้องกับหลักฐานหรือข้อมูลอย่างเท่ียงตรง ไม่มีอคติ ไม่นําความเชื่อส่วนตัว หรือไม่ใส่ข้อคิดเห็นของตนเองในการแปลความหมายข้อมูล 
  5. ความมุ่งมั่นอดทน โดยมุ่งมั่นตั้งใจในการทํากิจกรรม เพื่อนําไปสู่การอธิบายเกี่ยวกับ กระบวนการเกิดแหล่งน้ำ 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

1. การจัดการตนเอง โดยกํากับหรือพาตนเอง ให้ลงมือทํากิจกรรมที่ได้กําหนดไว้ มีความ พยายาม อดทน และมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมให้สําเร็จ 

2. อธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยการใช้ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการ สร้างแบบจําลองมาใช้แปลความหมายและอธิบาย เกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดินและปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน 

3. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เพื่อสํารวจตรวจสอบเกี่ยวกับการ เปลี่ยนแปลงของกองตะกอนชนิดเดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน และการเปลี่ยนแปลงของกองตะกอนต่างชนิดกันที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่ากัน

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

ด้านความรู้ 

1. การตอบคำถามในใบงาน  เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะของกองตะกอน และปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินในแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน รวมถึงการเชื่อมโยงความรู้จากการทำกิจกรรมไปสู่ปรากฏการณ์ในธรรมชาติ

2. การนำเสนอผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับกระบวนการเกิดแหล่งนํา้ผิวดิน และปัจจัย ที่ทําให้แหล่งน้ําผิวดินแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน 

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          โดยประเมินจาก

1. การใช้ประสาทสัมผัสเก็บรายละเอียด เกี่ยวกับลักษณะของกองตะกอนชนิดเดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำ ด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน และลักษณะของกองตะกอนต่างชนิดกัน ที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่า กัน โดยไม่เพิ่มเติมความคิดเห็น 

2. การคาดการณ์ลักษณะของตะกอนชนิด เดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำด้วยระยะเวลาที่แตกต่างกัน และลักษณะของกองตะกอนต่างชนิดกันที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่ากัน โดยอาศัยข้อมูล หรือความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างสมเหตุสมผลและครบถ้วน 

3. การลงความเห็นจากข้อมูลได้ว่า การปล่อย น้ำลงบนกองทรายและกองกรวดจะทำให้กองตะกอนถูกกัดเซาะ ซึ่งลักษณะของกองตะกอนที่ถูกกัดเซาะจะแตกต่างกันตามระยะเวลาที่ปล่อยน้ำลงบนกองตะกอนและตามชนิดของกองตะกอนที่แตกต่างกัน

 4. การตีความหมายข้อมูลและการลงข้อสรุป จากการรวบรวมข้อมูล การอภิปราย และการสร้างแบบจำลองได้ด้วยตนเองหรือจาก การชี้แนะของครูได้ว่า แหล่งน้ำผิวดินแต่ละ แหล่งอาจมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันขึ้น อยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ตามธรรมชาติ

5.การสร้างแบบจำลอง จากการใช้แบบจำลองอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดิน และปัจจัยที่ทําให้แหล่งน้ำผิวดินในแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน

 ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          โดยประมินจาก

  1. ความรอบคอบ จากพฤติกรรมที่แสดงความ รอบคอบและความละเอียดถ่ีถ้วนในการทำกิจกรรม การวางแผนการทำกิจกรรม การ ตรวจสอบความเรียบร้อยของอุปกรณ์หรือ เครื่องมือก่อนทำกิจกรรม การทำงานอย่าง เป็นระเบียบเรียบร้อย
  2. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน จากพฤติกรรมที่มีการนำหลักฐานหรือข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการ สร้างแบบจำลองมาใช้สนับสนุนการอธิบายกระบวนการเกิดแหล่งน้ำผิวดินและปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีลักษณะแตกต่างกัน
  3. ความซื่อสัตย์ จากการนำเสนอข้อมูลหรือผลการทำกิจกรรมตามผลที่ได้จริงหรือที่ปรากฏจริง ถึงแม้จะแตกต่างจากผู้อื่น

4. วัตถุวิสัย จากการแปลความหมายข้อมูลโดยใช้หลักฐาน หรือข้อมูลต่าง ๆ   จากการทำกิจกรรมตามผลการทํากิจกรรมที่ได้จริงหรือตามที่ปรากฏจริง และอย่างมีเหตุผล 

       5. ความมุ่งมั่นอดทน จากพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจในการทำ กิจกรรม ให้เสร็จตามกำหนด อดทนต่อปัญหา

ด้านสมรรถนะ

          โดยประเมินจาก

1. การจัดการตนเองจากการทำกิจกรรมและนําเสนอผลการทำกิจกรรมได้เสร็จทันเวลาที่กำหนด

2. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน และการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการเกิด แหล่งน้ำผิวดินและปัจจัยที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีขนาดและรูปร่างแตกต่างกัน

3. การประเมินและออกแบบกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ จากการระบุตัวแปรที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบเกี่ยวกับกองตะกอนชนิดเดียวกันที่ถูกกัดเซาะจากน้ำด้วยระยะเวลาที่แตก ต่างกัน และลักษณะของกองตะกอนต่างชนิดกันที่ถูกกัดเซาะด้วยปริมาณน้ำเท่ากัน

4. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งมีการตีความหมายข้อมูล วิเคราะห์และสร้างข้อสรุปอย่างสมเหตุสม ผลจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและจากการสร้างแบบจำลองในการอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ

    เกิดแหล่งน้ำผิวดิน และปัจจัย ที่ทําให้แหล่งน้ำผิวดินแต่ละแหล่งมีลักษณะ แตกต่างกัน 

เครื่องมือ

- ใบกิจกรรมที่ 1 ปัจจัยใดที่ทำให้แหล่งน้ำผิวดินมีลักษณะแตกต่างกัน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง แหล่งน้ำผิวดิน (1) 6 ก.ค. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม)