สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้

ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร = [มวลของตัวละลาย (g)/ปริมาตรของสารละลาย (cm³)] x 100

หรือ ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร = [มวลของตัวละลาย (kg)/ปริมาตรของสารละลาย (L)] x 100

ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้

ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร = [ปริมาตรของตัวละลาย (cm³)/ปริมาตรของสารละลาย (cm³)] x 100

หรือ ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร = [ปริมาตรของตัวละลาย( L)/ปริมาตรของสารละลาย (L)] x 100

ความเข้มข้นในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อมวล เขียนความสัมพันธ์ได้ดังนี้

ร้อยละโดยมวลต่อมวล = [มวลของตัวละลาย (g)/มวลของสารละลาย (g)] x 100

หรือ ร้อยละโดยมวลต่อมวล = [มวลของตัวละลาย (kg)/ปริมาตรของสารละลาย (L)] x 100

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ว 2.1 ม.2/5

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

          1. ระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล

          2. อธิบายความหมายของหน่วยความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร โดยปริมาตรปริมาตร และโดยมวลต่อมวล

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          1. สังเกตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายและบันทึกผลการสังเกต

         2. ใช้เครื่องชั่งชั่งจุนสี และใช้กระบอกตวงวัด ปริมาตรน้ำ

         3. คำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          1.มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ด้วยความสนใจ และกระตือรือร้น

          2. บันทึกผลการทำกิจกรรมตามที่สังเกตและรวบรวมข้อมูลได้ อย่างตรงไปตรงมาและมี ความซื่อสัตย์

          3. ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุปด้วยความมุ่งมั่นอดทน

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

          1. การจัดการตนเอง ระบุเป้าหมายการทำงาน ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม ทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเอง และบริหารจัดการงานและเวลา ให้สามารถปฏิบัติกิจกรรม เตรียมสารละลาย สังเกตและระบุปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วยความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร และ โดยปริมาตรต่อปริมาตร รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม

         2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม มีส่วนร่วมในกระบวนการทำงานเป็นทีม

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

ด้านความรู้ 

1. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับการระบุ ปริมาณตัวละลายในสารละลายในหน่วย ความเข้มข้นเป็นร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร ร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร และร้อยละ โดยมวลต่อมวล 

2. การตอบคำถามในใบงาน เกี่ยวกับการ คำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ 

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          โดยประเมินจาก

1. ข้อมูลที่บันทึกผลการสังเกตการเติมตัวละลายลงในตัวทำละลาย

2. การวัด จากการใช้เครื่องชั่งชั่งจุนสี และใช้ กระบอกตวงวัดปริมาตรน้ำ

3. การใช้จำนวน จากการคำนวณความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละโดยปริมาตรต่อปริมาตร ร้อยละโดยมวลต่อปริมาตร และร้อยละโดยมวลต่อมวล

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          โดยประมินจาก

1. ความอยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้น จากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตลอดกิจกรรม

2. ความซื่อสัตย์ จากการสังเกตการบันทึกผลการทำกิจกรรมตามข้อมูลที่สังเกตและรวบรวมได้

3. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐานที่นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

ด้านสมรรถนะ

          โดยประเมินจาก

1. การจัดการตนเอง จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทำงานและการบันทึกผลการทำกิจกรรมที่สะท้อนการระบุเป้าหมายการทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับผิดชอบภายในกลุ่ม การทำงานตามบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างมีวินัย การทำงานของตนเองได้ตามเวลาจนบรรลุเป้าหมายตามบทบาทที่ตนเองได้รับ ให้สามารถปฏิบัติกิจกรรมเตรียมสารละลาย และคำนวณความเข้มข้นของสารละลาย รวมทั้งมีความซื่อสัตย์ในการบันทึกผลการทำกิจกรรม

2. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างปฏิบัติกิจกรรมที่สะท้อนการมีส่วนร่วมในกระบวนการทำงาน โดยทำความเข้าใจเป้าหมายของการทำงาน ระบุภาระงาน วางแผนการทำงานผ่านการระดมความคิด แบ่งบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบภายในกลุ่ม และทำงานร่วมกันจนบรรลุเป้าหมาย 

เครื่องมือ

- ใบกิจกรรมที่ 1 ระบุปริมาณสารในสารละลายเป็นร้อยละได้อย่างไร

- ใบงานที่ 1 ระบุปริมาณสารในสารละลายเป็นร้อยละได้อย่างไร

- ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ความเข้มข้นของสารละลายในหน่วยร้อยละ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง การระบุปริมาณสารที่ละลายในน้ำ (2) 19 มิ.ย. 66 (มีใบงาน ใบกิจกรรม )