สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การละลายของสารในน้ำ อนุภาคของสารที่เป็นตัวละลายจะกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างอนุภาคของน้ำที่เป็นตัวทำละลาย สารละลายจึงเป็นของผสมเนื้อเดียว

ในการระบุตัวทำละลายในสารละลาย พิจารณาจากสถานะและปริมาณของสารองค์ประกอบ สารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะต่างกัน สารที่มีสถานะเหมือนกับสารละลาย

ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสารที่มีปริมาณมากที่สุดจัดเป็นตัวทำละลาย ส่วนสารละลายที่ประกอบด้วยสารที่มีสถานะเดียวกัน สารที่มีปริมาณมากที่สุดจัดเป็นตัวทำละลาย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

- ว 2.1

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายองค์ประกอบของสารละลาย

2. ระบุตัวทำละลายและตัวละลายในสารละลายบางชนิด โดยใช้สถานะและปริมาณของสารในสารละลายเป็นเกณฑ์

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

1. การสังเกต สังเกต ชนิด สถานะ และปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบในสารละลาย

2. การลงความเห็นจากข้อมูล ใช้ข้อมูลชนิด สถานะ และปริมาณของสารที่เป็นองค์ประกอบในสารละลาย มาอธิบายและลงข้อสรุปเกี่ยวกับเกณฑ์ในการระบุตัวทำละลายและตัวละลายในสารละลาย

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. อยากรู้อยากเห็น กระตือรือร้นในการตรวจสอบข้อมูลตามที่สงสัย

2. มุ่งมั่นอดทน ตั้งใจและรับผิดชอบในการทำกิจกรรมเพื่อให้ได้หลักฐาน นำไปสู่การอธิบายหรือลงข้อสรุป

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- ใบงาน เรื่อง การละลายได้ของสาร

เครื่องมือ

- ใบงาน เรื่อง การละลายได้ของสาร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 น้ำเพื่อชีวิต
ชั่วโมง น้ำเพื่อชีวิต
เรื่อง การละลายของสารในน้ำ (2) 18 พ.ค. 66 (มีใบกิจกรรม ใบงาน)