สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย สมาชิกทุกคนจะต้องรู้บทบาทหน้าที่ของตนในฐานะพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต

รู้จักทำงานร่วมกัน มีส่วนร่วมรับผิดชอบในกิจกรรมทางสังคม เคารพกติกาของสังคมประชาธิปไตยด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคมของประเทศ มีจิตสำนึกที่ดี

ตามวิถีประชาธิปไตย ย่อมส่งผลต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรือง อีกทั้งช่วยให้การอยู่ร่วมกันในสังคมดำเนินไปได้อย่างสงบสุข เพื่อให้การปกครองระบอบประชาธิปไตยมีความมั่นคง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- นักเรียนสามารถอธิบายเหตุการณ์ ข่าวสารภายในท้องถิ่นของตนเองได้

- นักเรียนสามารถอภิปรายการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองดี
ตามวิถีประชาธิปไตยได้

ด้านทักษะกระบวนการ

- นักเรียนสามารถเลือกรับข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ภายในท้องถิ่นของตนเองได้

ด้านคุณลักษณะ

- นักเรียนมีความใฝ่เรียนรู้

- นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน

- นักเรียนเห็นคุณค่าในการปฏิบัติตนตามสถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ในฐานะพลเมืองดี
ตามวิถีประชาธิปไตย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

- การตั้งคำถามให้นักเรียนร่วมกันตอบและมีส่วนร่วม

- การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร เหตุการณ์ภายในท้องถิ่นของตนเอง

- การวิเคราะห์บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ ของพลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสถานภาพ
   ของบุคคลต่าง ๆ ในท้องถิ่น

เครื่องมือ

  - ใบงานที่ ๑๕ เรื่อง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย

  - แบบประเมินผลการเรียนรู้ประจำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ ๓๒

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (Rubric)

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
ชั่วโมง พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย
เรื่อง ค้นข่าวสารชุมชน เพื่อพัฒนาตนเป็นพลเมืองดี (3) 4 ส.ค. 66 (มีใบงาน)