สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

อักษรกลาง หมายถึง พยัญชนะที่มีเสียงอยู่ในระดับกลาง มีทั้งหมด ๙ ตัว ได้แก่ ก จ ด ต บ ป อ ฎ ฏ

 หลักการจำอักษรกลาง “ไก่ จิก เด็ก ตาย เด็ก ตาย บน ปาก โอ่ง”

          การอ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลาง ผันได้ ๕ เสียง  คือ มีพื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ

ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงเอก ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้ตรี เป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา

และ การมารยาทในการเขียนเป็นคุณลักษณะที่ดีของการสื่อสาร

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้ ความเข้าใจ (K)

                    - บอกการอ่านผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้ 

ด้านทักษะ/กระบวนการ (P)

                      ๑) อ่านและเขียนผันวรรณยุกต์พยัญชนะอักษรกลางได้

                       ๒) เขียนคำที่มีอักษรกลางได้

ด้านคุณลักษณะ เจตคติ ค่านิยม (A)

                   - มีมารยาทในการเขียน

การวัดผลและประเมินผล

ใบงานที่ ๔ เรื่อง เขียนคำจากภาพที่มีพยัญชนะอักษรกลาง

ประเด็น                 การประเมิน

ระดับคุณภาพ

(ดีมาก)

(ดี)

(พอใช้)

(ปรับปรุง)

๑.อ่านออกเสียง

 

 

อ่านออกเสียงถูกต้องทุกคำ คล่องแคล่ว และสามารถอ่านนำผู้อื่นได้

อ่านออกเสียง

ถูกต้องเกือบทุกคำ และสามารถแก้ไขคำที่อ่านผิดได้ด้วยตนเอง

อ่านออกเสียงถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ และเมื่อมีผู้แนะนำ คำที่อ่านผิดก็สามารถแก้ไขตามได้

อ่านออกเสียงถูกต้องบางคำ นอกนั้นต้องมีผู้อ่านนำจึงสามารถอ่าน

ตามได้

๒. เขียนคำพยัญชนะอักษรกลางถูกต้อง

เขียนคำพยัญชนะอักษรกลางถูกต้องทุกตัวอักษร

เขียนคำพยัญชนะอักษรกลางถูกต้อง

เป็นส่วนใหญ่

เขียนคำพยัญชนะอักษรกลางถูกต้อง

เป็นส่วนน้อย

เขียนคำพยัญชนะอักษรกลางไม่ถูกต้องเป็นจำนวนมาก

๓. มารยาท

ในการเขียน

มีสมาธิ และมีความตั้งใจในการเขียนอย่างสม่ำเสมอ

ไม่พูดคุยเล่นระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การเขียนอย่างสม่ำเสมอ  ไม่พูด คุย เล่น ระหว่างทำงาน

มีความตั้งใจใน

การเขียนพอสมควร  พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานเป็นบางครั้ง

ไม่ตั้งใจในการเขียน พูด คุย เล่น ระหว่างทำงานตลอดเวลา  ต้องคอยตักเตือน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยที่ ๒ อ่านเขียนเรียนภาษา
ชั่วโมง อ่านเขียนเรียนภาษา
เรื่อง เข้าใจอักษรกลาง (2) 2 มิ.ย. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)