สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่ ส่วนสารผสมมีจุดเดือดไม่คงที่ เนื่องจากสารผสมมีองค์ประกอบมากกว่า 1 ชนิด เมื่อสารผสมได้รับความร้อน อัตราส่วนผสมหรือความเข้มข้นของสารจะเปลี่ยนไปเพราะสารแต่ละชนิดระเหยได้แตกต่างกัน จุดเดือดของสารผสมจึงไม่คงที่

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้         

อธิบายและเปรียบเทียบจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยแปลความหมายของกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของน้ำกลั่นกับเวลาและอุณหภูมิของสารละลายโซเดียมคลอไรด์กับเวลา เพื่อนําไปสู่ข้อสรุปเกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน การสังเกตและวัดอุณหภูมิเพื่อสนับสนุนคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์         

2. วัตถุวิสัย การแปลความหมายข้อมูลสอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้ความรู้เกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมมาสร้างคำอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์อื่น ๆ โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นไปได้         

2. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปเกี่ยวกับจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ 

ด้านความรู้ 

การตอบคําถามขณะอภิปรายและการตอบคําถามในใบงาน เพื่ออธิบายและเปรียบเทียบจุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม

ด้านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ 

การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุปจากการอภิปรายและการตอบคําถาม โดยนําข้อมูลที่ได้จากการทำ กิจกรรมเกี่ยวกับการหาจุดเดือดของน้ำกลั่นและสารละลายโซเดียมคลอไรด์มาลงข้อสรุปว่า สารบริสุทธิ์มีจุดเดือดคงที่ส่วนสารผสมมีจุดเดือดไม่คงที่ 

ด้านจิตวิทยาศาสตร์ 

1. ความเชื่อมั่นต่อหลักฐานจากข้อมูลที่บันทึกผลการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำและโซเดียมคลอไรด์เมื่อได้รับความร้อน เพื่อนำมาสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ 

2. วัตถุวิสัย จากการตอบคําถามในใบงานที่สอดคล้องกับหลักฐานอย่างเที่ยงตรง 

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน  

1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการสังเกต การอภิปรายเชื่อมโยงสิ่งที่ค้นพบจากกิจกรรมมาสร้างคำอธิบายเกี่ยวกับสารบริสุทธิ์และสารผสมอื่น ๆ โดยใช้ความเป็นเหตุเป็นผลที่เป็นไปได้ 

2. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงาน ซึ่งเกิดจากการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูลจากกราฟและลงข้อสรุปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิกับเวลาของสารบริสุทธิ์และสารผสมวิธีการเขียนผังมโนทัศน์แสดงการจำแนกสาร

8.2 เครื่องมือ

1. ใบกิจกรรมที่ 1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร

2. ใบงานที่ 1 จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสมเป็นอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง สารในชีวิตประจำวัน
ชั่วโมง สารในชีวิตประจำวัน
เรื่อง จุดเดือดของสารบริสุทธิ์และสารผสม (2) 30 ส.ค. 66 (มีใบงาน)