สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 พืชมีไซเล็มและโฟลเอ็มซึ่งเป็นเนื้อเยื่อ มีลักษณะคล้ายท่อเรียงตัวกันเป็นกลุ่มเฉพาะที่โดยไซเล็มทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร มีทิศทางลำเลียงจากรากไปสู่ลำต้น ใบ และส่วนต่าง ๆ ของพืช ส่วนโฟลเอ็มทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่พืชสร้างขึ้น มีทิศทางลำเลียงจากบริเวณที่มีการสร้างอาหารไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของพืช

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

          - การสังเกต สังเกตเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืช
          - การตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป นำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเคลื่อนที่ของน้ำสีในต้นพืช เพื่ออธิบายเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร
  ด้านจิตวิทยาศาสตร์

          - การอยากรู้อยากเห็น สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการลำเลียงสารในพืช

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน

           - การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของน้ำสีในต้นพืช เพื่ออธิบายการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืช

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

          1. การตอบคำถาม การอภิปราย และการนำเสนอเกี่ยวกับลักษณะและหน้าที่ของไซเล็มและโฟลเอ็ม
          2. การบันทึกผลการสังเกตเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืชตามความเป็นจริง
          3. การตอบคำถามและการอภิปราย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการเคลื่อนที่ของน้ำสีในต้นพืช เพื่ออธิบายเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและธาตุอาหาร
          4. การบันทึกผลการสืบค้นเกี่ยวกับการลำเลียงในพืช

          5. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยตอบคำถามโดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของน้ำสีในต้นพืช เพื่ออธิบายการลำเลียงน้ำและธาตุอาหารของพืชได้อย่างสมเหตุสมผล

8.2 เครื่องมือ

          1. ใบกิจกรรมที่ 1 พืชลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอย่างไร
          2. ใบงานที่ 1 พืชลำเลียงน้ำและธาตุอาหารอย่างไร

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช
ชั่วโมง การดำรงชีวิตของพืช
เรื่อง การลำเลียงสารในพืช (1) 9 ส.ค. 66 (มีใบงาน ใบความรู้ และใบกิจกรรม)