สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

  การสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนสำคัญของธรรมชาติของวิทยาศาสตร์  ซึ่งเป็นกระบวนการที่มนุษย์ใช้แสวงหาคำตอบ สร้างแนวคิดและคำบรรยายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ต่าง ๆ   เพื่อใช้อธิบายหรือทำนายการเกิดปรากฏการณ์ในธรรมชาติเป็นกระบวนการที่มีระบบแต่ไม่มีรูปแบบที่ตายตัว มักเริ่มต้นจากคำถาม มีการเก็บข้อมูลหลักฐานด้วยวิธีการต่าง   ๆ วิเคราะห์ข้อมูลและสร้างคำอธิบายจากหลักฐานที่ได้ จากนั้นเชื่อมโยงคำอธิบายที่ค้นพบกับผู้อื่นและสื่อสารอย่างมีเหตุผล

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7. วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด

ด้านความรู้

- นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะสำคัญของการสืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

- นักเรียนสามารถอธิบายความสำคัญของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

- นักเรียนสามารถอธิบายประโยชน์ของจิตวิทยาศาสตร์

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์         

- นักเรียนสามารถสังเกต โดยสามารถสังเกตลักษณะใบไม้ สังเกตระดับน้ำความเร็วในการหมุนของกังหันลม         

- นักเรียนสามารถวัด โดยสามารถใช้กระบอกตวงตวงปริมาณน้ำ เวลาที่กังหันลมหมุนยกคลิปหนีบกระดาษจนถึงจุดสูงสุด         

- นักเรียนสามารถหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับสเปซ โดยสามารถหาความสัมพันธ์ของที่ว่างระหว่างก้อนหินกับปริมาณน้ำที่เข้าไปครอบครอง         

- นักเรียนสามารถใช้จำนวน โดยสามารถคำนวณเปรียบเทียบปริมาณน้ำที่ชั้นหินอุ้มน้ำ แต่ละประเภทเก็บน้ำบาดาลไว้ คำนวณเปรียบเทียบความเร็วในการหมุนของกังหันลม         

- นักเรียนสามารถตั้งสมมติฐาน โดยสามารถหาคำตอบล่วงหน้าว่าชั้นหินอุ้มน้ำใดที่จะเก็บน้ำบาดาลไว้ได้มากที่สุดและกังหันลมใดจะหมุนเร็วที่สุด พร้อมทั้งระบุเหตุผล         

- นักเรียนสามารถกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ โดยสามารถกำหนดการสังเกตความเร็วในการหมุนของกังหันลม         

- นักเรียนสามารถกำหนดและควบคุมตัวแปร โดยสามารถกำหนดตัวแปรต้น ตัวแปรตามและตัวแปรที่ต้องการควบคุมให้คงที่ ให้สอดคล้องกับสมมติฐานการทดลอง         

- นักเรียนสามารถทดลอง โดยสามารถออกแบบการทดลอง การปฏิบัติการทดลองและการบันทึกผลการทดลองว่าชั้นหินอุ้มน้ำใดจะเก็บน้ำบาดาลไว้ได้มากที่สุด   รวมทั้งการทดลองศึกษาขนาดของกังหันลมที่มีต่อความเร็วในการหมุน         

- นักเรียนสามารถตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป โดยสามารถแปลความหมายข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่ชั้นหินอุ้มน้ำแต่ละประเภทเก็บน้ำไว้ไปหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะชั้นหินกับปริมาณน้ำที่ชั้นหินสามารถเก็บไว้และการหมุน      

- นักเรียนสามารถสร้างแบบจำลอง โดยสามารถใช้วัสดุอุปกรณ์มาเลียนแบบชั้นหินในธรรมชาติเพื่อจำลองการเก็บน้ำบาดาลของชั้นหินลักษณะต่าง ๆ  ในธรรมชาติ การใช้กังหันลมอย่างง่ายอธิบายการหมุนของกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าขนาดใหญ่

ด้านจิตวิทยาศาสตร์         

- การใช้วิจารณญาณ         

- ความรอบคอบ         

- ความเชื่อมั่นต่อหลักฐาน         

- ความซื่อสัตย์         

- วัตถุวิสัย         

- การยอมรับความเห็นต่าง         

- ความใจกว้าง         

- ความอยากรู้อยากเห็น         

- ความมุ่งมั่นอดทน

ด้านสมรรถนะที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน         

- การรวมพลังทำงานเป็นทีม โดยร่วมกันสืบเสาะหาความรู้เพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้กับเพื่อน จนสามารถหาคําาตอบได้ว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่         

- การสื่อสาร โดยนำเสนอผลการทำกิจกรรมที่มีรูปแบบและวิธีการที่เข้าใจง่าย ประเมินจุดเด่นและข้อควรปรับปรุงของการนำเสนอผลงาน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง         

- ความคิดขั้นสูง โดยไตร่ตรองและใช้ข้อมูลเพื่อทบทวนและปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี วิเคราะห์และระบุทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์         

- การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยอธิบายการอุ้มน้ำของชั้นดินอุ้มน้ำและขนาดของกังหัน ลมที่มีต่ออัตราเร็วของการหมุน         

- การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานทางวิทยาศาสตร์ โดยวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล   จากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุป เกี่ยวกับการอุ้มน้ำของชั้นดินอุ้มน้ำและขนาดของกังหันลมที่มีต่ออัตราเร็วของการหมุน

การวัดผลและประเมินผล

8. การประเมินผล         

8.1 วิธีการ         

1. การตอบคำถามในใบงานที่ 1 2 และ 3 และการนําาเสนอผลการทำกิจกรรม         

2. การบันทึกข้อมูลและการตอบคําาถามในใบงาน         

3. การสังเกตพฤติกรรมขณะทำกิจกรรม         

4. การรวมพลังทำงานเป็นทีม จากการสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงการร่วมกันสืบเสาะหาความรู้เพื่อพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้กับเพื่อนจนสามารถหาคําาตอบได้ว่าเป็นไปตามสมมติฐานหรือไม่

5. การสื่อสาร จากการนำเสนอผลการทำกิจกรรมโดยมีรูปแบบและวิธีการที่เข้าใจง่าย ประเมินจุดเด่นและข้อควรปรับปรุงของการนำเสนอผลงานพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง

6. ความคิดขั้นสูง จากการอภิปรายในชั้นเรียนที่แสดงถึงการไตร่ตรองและใช้ข้อมูลเพื่อทบทวนและปรับปรุง  กระบวนการทำงานและการพัฒนาตนเองเพื่อให้เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ดี วิเคราะห์และระบุทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์

7. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคําาถามในใบงานเกี่ยวกับการอุ้มน้ำของชั้นดินอุ้มน้ำและขนาดของกังหันลมที่มีต่ออัตราเร็วของการหมุน

8. การแปลความหมายข้อมูลและการใช้ประจักษ์พยานเชิงวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามในใบงานที่แสดงถึงการวิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล จากผลการทำกิจกรรมและลงข้อสรุปเกี่ยวกับการอุ้มน้ำของชั้นดินอุ้มน้ำและ   ขนาดของกังหันลมที่มีต่ออัตราเร็วของการหมุน         

8.2 เครื่องมือ         

1. ใบกิจกรรมที่ 1 สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร         

2. ใบงานที่ 1 สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร         

3. ใบกิจกรรมที่ 2 เล็กหรือใหญ่ ใครหมุนเร็วกว่ากัน         

4. ใบงานที่ 2 เล็กหรือใหญ่ ใครหมุนเร็วกว่ากัน         

5. ใบกิจกรรมที่ 3 ตำนานเต้าหู้         

6. ใบงานที่ 3 จิตวิทยาศาสตร์กับตำนานการทำเต้าหู้ของนายยามาชิตะ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง เรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
ชั่วโมง เรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์
เรื่อง สืบเสาะหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างไร (2) 31 พ.ค. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)