สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ข้อที่ 3

การแบ่งครึ่งส่วนของเส้นตรงที่กำหนดให้

การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ข้อที่ 5

การสร้างเส้นตั้งฉากจากจุดภายนอกมายังเส้นตรงที่กำหนดให้

การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ข้อที่ 6

การสร้างเส้นตั้งฉากที่จุดจุดหนึ่งที่อยู่บนเส้นตรงที่กำหนดให้

การนำความรู้เกี่ยวกับสร้างพื้นฐานทาง เรขาคณิตไปใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ค 2.2 ม.1/1 ใช้ความรู้ทางเรขาคณิตและเครื่องมือ เช่น วงเวียนและสันตรง รวมทั้งโปรแกรม The Geometer’s Sketchpad หรือ โปรแกรมเรขาคณิตพลวัตอื่น ๆ เพื่อสร้างรูปเรขาคณิตตลอดจนนำความรู้เกี่ยวกับการสร้างนี้ ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนสามารถเขียนหรืออธิบายวิธีการ แก้ปัญหาที่กำหนดให้ โดยใช้ความรู้ เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต

ด้านทักษะและกระบวนการ

1.นักเรียนสามารถแก้ปัญหาที่อยู่ในชีวิตจริงโดยใช้ ความรู้ เกี่ยวกับการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต

2. นักเรียนสามารถสื่อสารและสื่อความหมายเกี่ยวกับ แนวคิดในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจสอบใบกิจกรรม 8:กึ่งกลางสร้างสัมพันธ์

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 ใบกิจกรรม 8:กึ่งกลางสร้างสัมพันธ์

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง เครื่องมือพร้อมสรรพ สรรค์สร้างงานเรขา
ชั่วโมง เครื่องมือพร้อมสรรพ สรรค์สร้างงานเรขา
เรื่อง เตรียมเครื่องมือให้พร้อม (6) 22 ส.ค. 66 (มีใบกิจกรรม)