สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การเปรียบเทียบเศษส่วนที่เป็นจำนวนบวกสองจำนวน

  • เมื่อตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองเท่ากัน ให้พิจารณาตัวเศษ ถ้าตัวเศษเท่ากัน เศษส่วนทั้งสองนั้นเท่ากัน แต่ถ้าตัวเศษไม่เท่ากัน เศษส่วนที่มีตัวเศษมากกว่า จะมากกว่าเศษส่วนที่มีตัวเศษน้อยกว่า
  • เมื่อตัวส่วนของเศษส่วนทั้งสองไม่เท่ากัน ให้ทำเศษส่วนทั้งสองให้เป็นเศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากัน โดยนำจำนวนเดียวกัน ที่ไม่เท่ากับศูนย์มาคูณหรือหารทั้งตัวเศษและตัวส่วน เมื่อได้เศษส่วนที่มีตัวส่วนเท่ากันแล้ว จึงเปรียบเทียบตัวเศษโดยใช้หลักการในข้อก่อนหน้านี้

การเปรียบเทียบเศษส่วนที่เป็นจำนวนลบสองจำนวน  ให้เขียนเศษส่วนทั้งสองให้เป็นเศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นจำนวนเต็มบวกก่อน แล้วเปรียบเทียบตามหลักการข้างต้นทั้ง 2 ข้อข้างต้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ม.1/1  เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ  และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้     

นักเรียนสามารถเปรียบเทียบเศษส่วน

ด้านทักษะและกระบวนการ

นักเรียนสามารถสื่อสารและสื่อความหมายในการเปรียบเทียบเศษส่วน โดยใช้เส้นจำนวน หรือค่าสัมบูรณ์

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

8.1.1 ตรวจแบบฝึกหัด 2 : เปรียบเทียบเศษส่วน         

8.1.2 สังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้

8.2 เครื่องมือ

8.2.1 แบบฝึกหัด 2 : เปรียบเทียบเศษส่วน

8.2.2 แบบวัดทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ คณิตศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร
ชั่วโมง แต่ละส่วน ควรเป็นอย่างไร
เรื่อง มากน้อยค่อย ๆ คิด (2) 10 ก.ค. 66 (มีแบบฝึกหัด)