สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ประกอบด้วยเทือกเขาและทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร การที่ภูมิภาคนี้มีพื้นที่ติดต่อกับทะเลหลายด้าน ทำให้ติดต่อค้าขายกับดินแดนอื่น ๆ มาตั้งแต่สมัยโบราณ ส่งผลให้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนอารยธรรมกับโลกภายนอก

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส4.2 ม.2/1 อธิบายพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองของภูมิภาคเอเชีย

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายลักษณะที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้โดยสังเขปได้

2. บอกลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศที่ส่งผลต่อการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพของประชากรได้

ด้านทักษะและกระบวนการ

1. วิเคราะห์ลักษณะที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ที่ส่งผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ได้

2. อภิปรายเกี่ยวกับปัจจัยทางภูมิศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ได้

ด้านคุณลักษณะ

          คุณลักษณะอันพึงประสงค์

          1. ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

          2. มุ่งมั่นในการทำงาน

          คุณลักษณะเฉพาะ

          1. นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษาลักษณะที่ตั้ง สภาพทางภูมิศาสตร์ที่มีผลต่อพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

          2. นักเรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาพัฒนาการของภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การตอบคำถาม

เครื่องมือ

1. คำถาม

2. แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ย้อนเวลาแดนทะเลทราย
ชั่วโมง ย้อนเวลาแดนทะเลทราย
เรื่อง ที่ตั้ง และภูมิศาสตร์เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ 24 ส.ค. 66 (มีใบความรู้)