สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นร่องรอยที่มนุษย์สร้างขึ้นในอดีต ทำให้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ ผ่านการประเมินค่า วิเคราะห์และตีความข้อมูลจากหลักฐานนั้น ๆ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ส4.1 ม.2/1 ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่าง ๆ

ส4.1 ม.2/2 วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

ส4.3 ม.2/3 เห็นความสำคัญของการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. อธิบายลักษณะและประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้

2. จำแนกหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

1. วิเคราะห์และตีความข้อมูลจากหลักฐานประวัติศาสตร์ได้

2. อภิปรายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ได้

ด้านคุณลักษณะ

                   คุณลักษณะอันพึงประสงค์

                   1. ใฝ่เรียนรู้

                   2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

                   1. นักเรียนเห็นคุณค่าของการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาใช้ในการศึกษาข่าวสารต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน

                   2. นักเรียนเห็นความสำคัญของการศึกษาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์และส่งผลต่อสังคมไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

             1. การตอบคำถาม

2. การอภิปราย

3. การทำใบงานที่ 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ 

เครื่องมือ

            1.ใบงานที่ 2 หลักฐานทางประวัติศาสตร์

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ร่องรอยจากอดีต
ชั่วโมง ร่องรอยจากอดีต
เรื่อง ความสำคัญและขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ (2) 25 พ.ค. 66 (มีใบงาน)