สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย ตั้งอยู่ระหว่างอารยธรรมอินเดียและจีน แบ่งออกได้เป็นสองส่วน คือแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะ โดยมีสภาพภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นปัจจัยที่เหมาะสมต่อการตั้งถิ่นฐานและการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของมนุษย์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

- อธิบายลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

ด้านทักษะกระบวนการ

- วิเคราะห์ปัจจัยการตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้

ด้านคุณลักษณะ

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

คุณลักษณะเฉพาะ

- เห็นความสำคัญของที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นปัจจัยการตั้งถิ่นฐานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การวัดผลและประเมินผล

1. วิธีการ

- ตั้งคำถามและให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย

เครื่องมือวัด

- คำถามนำ

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

เกณฑ์การวัด

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน (RUBRIC SCORE)     

2. เครื่องมือ

- คำถามนำ

- แบบประเมินการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 7

เกณฑ์การวัด

- นักเรียนตอบคำถามถูกต้องมากกว่าร้อยละ50

- เกณฑ์คุณภาพการประเมิน(RUBRIC SCORE)

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 รากเหง้าแห่งอุษาคเนย์
ชั่วโมง รากเหง้าแห่งอุษาคเนย์
เรื่อง ที่ตั้งและสภาพภูมิศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10 ก.ค. 66 (มีบัตรภาพและใบงานพร้อมเฉลย)