สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การทบทวนบทเรียน และการทดสอบหลังเรียน เพื่อวัดผลการเรียนรู้ ในเนื้อหาตามตัวชี้วัด ศ 1.1 ข้อ 5 และ ศ 1.2 ข้อ 1 และ 2  โดยใช้วิธีการทบทวนบทเรียนจากการสรุปเนื้อหา ด้วยวิธีการบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหาในผ่านกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมกันตอบคำถามเกี่ยวกับ  งานทัศนศิลป์ของชาติ การออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์และกราฟิก และทัศนศิลป์ท้องถิ่นไทยสี่ภาค ทั้งนี้เพื่อมุ่งให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้  ไปประยุกต์ใช้ใช้ชีวิตประจำวันและตระหนักถึงคุณค่าความสำคัญของทัศนศิลป์ของชาติและทัศนศิลป์ท้องถิ่น รวมถึงการทำงานออกแบบสัญลักษณ์พื้นฐานอย่างมีคุณภาพได้ในอนาคต

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ 1.1 ม. 1/5 ออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ หรือกราฟิกอื่น ๆ ในการนำเสนอความคิดและข้อมูล
ศ 1.2 ม. 1/1 ระบุและบรรยายเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติและของท้องถิ่นตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
ศ 1.2 ม. 1/2 ระบุและเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนสามารถเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปแบบงานทัศนศิลป์ไทยแต่ละยุคได้

2. นักเรียนรู้จักการออกแบบรูปภาพ สัญลักษณ์ และกราฟิก

3. นักเรียนสามารถอธิบายลักษณะของผลงานทัศนศิลป์ของท้องถิ่นต่างๆ ได้
ด้านทักษะและกระบวนการ

นักเรียนสามารถในการนำกระบวนการต่างๆ ไปใช้ในการทำงาน                     

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

3. การมีวินัย

4. ใฝ่เรียนรู้

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. การทดสอบหลังเรียน
เครื่องมือ
1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. แบบทดสอบ

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทบทวนบทเรียน
ชั่วโมง ทบทวนบทเรียน
เรื่อง ทบทวนบทเรียน 26 ก.ค. 66 (มีแบบทดสอบ)