สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การศึกษารูปแบบทัศนศิลป์ของชาติ โดยใช้การแบ่งประเภทตัวอย่างผลงาน และนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ทัศนศิลป์ของชาติตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ร่วมกับความเข้าใจเกี่ยวกับทัศนศิลป์ท้องถิ่น ๔ ภาคซึ่งได้เรียนไปแล้ว เชื่อมโยงให้เห็นถึงลักษณะ รูปแบบ ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมชาติ หัดสังเกตรายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละสมัย ทำให้มีความรู้ความเข้าใจในวิชาศิลปะ รู้จักคิดวิเคราะห์ได้ดียิ่งขึ้น

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ 1.1 ม. 1/1 ระบุและบรรยายเกี่ยวกับลักษณะ รูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติและของท้องถิ่นตนเองจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. นักเรียนรู้จักรูปแบบงานทัศนศิลป์ของชาติตามช่วงสมัยต่างๆ

2. นักเรียนรู้จักอิทธิพลที่ส่งผลถึงลักษณะความแตกต่างในงานทัศนศิลป์ชาติ

3. นักเรียนสามารถเห็นความแตกต่างของทัศนศิลป์ของชาติและท้องถิ่นของไทย

ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. การมีวินัย

2. ใฝ่เรียนรู้
3. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. ชิ้นงานหรือผลงาน
เครื่องมือ
1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
2. แบบประเมินชิ้นงานหรือผลงาน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เมื่อทัศนศิลป์ไทยเปลี่ยนไปในแต่ละวัน
ชั่วโมง เมื่อทัศนศิลป์ไทยเปลี่ยนไปในแต่ละวัน
เรื่อง มองทัศนศิลป์ชาติอย่างเข้าใจ 5 ก.ค. 66 (มีใบความรู้)