สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

การนำลักษณะสำคัญและรูปแบบของงานทัศนศิลป์ในแต่ละภูมิภาคของไทย มาสร้างเป็นงานทัศนศิลป์โดยเทคนิคการฉลุ ทำให้นักเรียนหัดพิจารณารายละเอียดที่แตกต่างกันในแต่ละบริเวณในงานได้มีโอกาสแสดงออกผ่านความรู้ความเข้าใจของตนเองในเรื่องทัศนศิลป์ท้องถิ่นไทย โดยใช้ทักษะการใช้คัตเตอร์กรีดกระดาษ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด

ศ 1.2 ม. 1/2 ระบุ และเปรียบเทียบงานทัศนศิลป์ของภาคต่าง ๆ ในประเทศไทย

จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

นักเรียนมีความสามารถทางการเรียนเรื่องทัศนศิลป์ท้องถิ่นไทย โดยเลือกงานตัวอย่างมาใช้อย่างถูกต้อง  
ด้านทักษะและกระบวนการ

1. นักเรียนสามารถนำรูปแบบทัศนศิลป์ของภูมิภาคมาสร้างงานทัศนศิลป์ โดยใช้ทักษะการฉลุกระดาษได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนสามารถฉลุกระดาษจากรายละเอียดที่แตกต่างกันและฉลุได้ถูกต้องตามรูปแบบของงานต้นฉบับ
3.  นักเรียนมีทักษะการใช้คัทเตอร์ในการกรีด/เจาะกระดาษได้อย่างปลอดภัย
4.  นักเรียนสามารถทำกิจกรรมกลุ่มและแสดงความคิดเห็นได้
ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์

1.  การมีวินัย

2.  มุ่งมั่นในการทำงาน
3.  รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

     1. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
     2. ชิ้นงานหรือภาระงาน

เครื่องมือ
   1. แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
   2. แบบประเมินชิ้นงานหรือภาระงาน

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ทัศนศิลป์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทัศนศิลป์ 4 ภาค
ชั่วโมง ทัศนศิลป์ 4 ภาค
เรื่อง ท่องไปในทัศนศิลป์ 4 ภาค 7 มิ.ย. 66 (มีใบงาน)