สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 การเรียนรู้วรรณคดีนอกจากอรรถรสทางด้านวรรณศิลป์แล้ว ผู้เรียนต้องรู้จักการนำเอาความรู้และสาระต่าง ๆ ที่สอดแทรกไว้ในเรื่องเลือกสรรมาประยุกต์ใช้กับชีวิตจริง การศึกษาเรื่องการวิเคราะห์วรรณคดีจะช่วยให้ผู้เรียนได้รับบทเรียนในการดำเนินชีวิตและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกิดจริงในชีวิตจริงตามหลักคำสอนของวรรณคดีต่อไป

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 5.1 ม.1/3 วิเคราะห์คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรมที่อ่าน

ท 5.1 ม.1/4 สรุปความรู้และข้อคิดจากการอ่านเพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

1. บอกรายละเอียดเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วงได้

2. ระบุคำสอนที่ปรากฎในวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วงได้

ด้านทักษะกระบวนการ

เขียนสรุปข้อคิดที่ได้รับจากวรรณคดีเรื่องสุภาษิตพระร่วงได้

คุณลักษณะอันพึงประสงค์

1. มีวินัย

2. รักความเป็นไทย

การวัดผลและประเมินผล

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงาน

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินมารยาทในการฟัง การดู

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เกลาความคิดด้วยคำคม
ชั่วโมง เกลาความคิดด้วยคำคม
เรื่อง เก่งกาจวิเคราะห์วิจารณ์ 10 ต.ค. 66 (มีใบงาน)