สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

 สุภาษิตพระร่วงถูกสันนิษฐานว่าเป็นวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย ที่นับได้ว่าเก่าแก่ที่สุดของไทย แต่งเป็นคำประพันธ์ประเภทร่าย ใช้ภาษากระชับ แต่กินใจความมาก เรียงร้อยถ้อยคำให้มีสัมผัสคล้องจองอย่างไพเราะ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเป็นสุภาษิต ให้คุณค่า ในการสะท้อนลักษณะของวิถีชีวิตไทย แสดงพฤติกรรมของคน ที่ยังคงสามารถนำมาใช้ได้ทุกยุคสมัย

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 4.1 ม.1/6  จำแนกและใช้สำนวนที่เป็นคำพังเพยและสุภาษิต

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

อธิบายแนวทางการถอดคำประพันธ์สุภาษิตพระร่วง

ด้านทักษะและกระบวนการ

ถอดคำประพันธ์สุภาษิตพระร่วง

ด้านคุณลักษณะ

1. ใฝ่เรียนรู้

2. มุ่งมั่นในการทำงาน

3. มีวินัย

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. การตรวจใบงาน

2. สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงาน

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

3. แบบประเมินมารยาทในการฟัง การดู

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง เกลาความคิดด้วยคำคม
ชั่วโมง เกลาความคิดด้วยคำคม
เรื่อง เนื้อหาน่าคิด (1) 11 ก.ย. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)