สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

        การเขียนย่อความเป็นการเรียบเรียงเรื่องราวเดิมให้มีขนาดสั้นลง นำเสนอเฉพาะใจความสำคัญอย่างย่อ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว โดยการย่อความมีหลากหลายรูปแบบ การเขียนย่อความเรียงร้อยแก้วธรรมดานั้นเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวนักเรียน และเหมาะสมเป็นอย่างมากต่อการนำความรู้เรื่องการเขียนย่อความไปใช้ในการย่อเนื้อหาในรายวิชาอื่น ๆ เพื่อไว้ใช้สำหรับอ่านทบทวนความรู้

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

7.1 ตัวชี้วัด

ท 2.1  ม.1/5  เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน

7.2 จุดประสงค์การเรียนรู้

1. บอกหลักการเขียนย่อความบทร้อยแก้ว

2. เขียนย่อความบทร้อยแก้วประเภทนิทาน

การวัดผลและประเมินผล

8.1 วิธีการ

1. นักเรียนทำใบงานที่ 1  เรื่อง “การย่อความบทร้อยแก้วประเภทนิทาน”

2. สังเกตพฤติกรรมการตอบคำถาม

8.2 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 1  เรื่อง “การย่อความบทร้อยแก้วประเภทนิทาน”

2. แบบประเมินพฤติกรรมการตอบคำถาม

ปีการศึกษา 2566 / 1
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1
กลุ่มสาระ ภาษาไทย
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 เรื่อง บทฝึกอ่านกับเรื่องเล่า
ชั่วโมง บทฝึกอ่านกับเรื่องเล่า
เรื่อง เล่าขานเรื่องราว 25 ก.ค. 66 (มีใบงาน และใบความรู้)