สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศจะมีความสัมพันธ์กันในหลายรูปแบบ ดังนี้

- ภาวะพึ่งพากัน เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตทั้งสองชนิดได้ประโยชน์ทั้งคู่

- ภาวะอิงอาศัย เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งได้ประโยชน์ ส่วนสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้และไม่เสียประโยชน์

- ภาวะปรสิต เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งเป็นปรสิตได้ประโยชน์ ส่วนสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผู้ถูกอาศัยเสียประโยชน์

- การล่าเหยื่อ เป็นรูปแบบความสัมพันธ์ที่สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งซึ่งเป็นผู้ล่าได้ประโยชน์ ส่วนสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเหยื่อเสียประโยชน์

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านความรู้

  1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ โดยนำความรู้เรื่องรูปแบบความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตมาอธิบายความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตคู่อื่น ๆ ในระบบนิเวศ

การวัดผลและประเมินผล

วิธีการ

1. การอธิบายปรากฏการณ์ในเชิงวิทยาศาสตร์ จากการบันทึกผลการทำกิจกรรม และการตอบคำถาม โดยนำ  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิตมา อธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตคู่อื่น
เครื่องมือ

1. ใบความรู้ที่ 1 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ

2. ใบงานที่ 1 สิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ (3) วันที่ 17 ก.พ. 66 (มีใบงาน ใบความรู้)