สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

สิ่งแวดล้อมมีองค์ประกอบสำคัญแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ องค์ประกอบที่มีชีวิต ได้แก่ สิ่งมีชีวิตต่าง ๆ และองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต เช่น แสง น้ำ แก๊ส อุณหภูมิ และวิธีการเก็บและรวบรวมข้อมูลในบริเวณที่สำรวจ ได้แก่ การวัดอุณหภูมิ การวัดความเป็นกรด-เบส การวัดความสว่าง และการวัดความโปร่งใสของน้ำ

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ด้านทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  1. การสังเกต โดยสังเกตชนิด และปริมาณของสิ่งมีชีวิต รวมถึงพฤติกรรมการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต และสังเกตองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจ

ด้านจิตวิทยาศาสตร์

1. ความอยากรู้อยากเห็น โดยกระตือรือร้นในการสำรวจปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม

2. ความมุ่งมั่นอดทน โดยไม่ย่อท้อต่อการสำรวจสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมในบริเวณที่สนใจ

การวัดผลและประเมินผล

 วิธีการ

1. การสังเกต จากบันทึกผลการทำกิจกรรมโดยบันทึกข้อมูลองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิตในบริเวณที่สำรวจอย่างละเอียด ตามความเป็นจริง โดยไม่เพิ่มความคิดเห็นส่วนตัว

2. ความอยากรู้อยากเห็น จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรมและการบันทึกผลการทำกิจกรรมเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสภาพแวดล้อม

              3. ความมุ่งมั่นอดทน จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนระหว่างการทำกิจกรรมในการสำรวจสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมในบริเวณที่สนใจ
 เครื่องมือ

1. ใบงานที่ 1 สิ่งมีชีวิตมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมอย่างไร

ปีการศึกษา 2565 / 2
ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มสาระ วิทยาศาสตร์
หน่วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 7
ชั่วโมง สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
เรื่อง องค์ประกอบของระบบนิเวศ (3) วันที่ 7 ก.พ. 66 (มีใบงาน )